การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนโดยเครือข่ายสุขภาพ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชน, วัณโรคปอด, เครือข่ายสุขภาพ , อัตราการขาดยาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชน โดยเครือข่ายสุขภาพอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 97 คน คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอด ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด เครือข่ายสุขภาพในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านวัณโรค เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบแบบสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ความตรงของเครื่องมือโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- การดูแลผู้ป่วยวัณโรคอำเภอธาตุพนม ดำเนินงานโดยคณะกรรมการวัณโรคระดับอำเภอธาตุพนม ให้บริการโดยทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน ตามบริบทและวิถีชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
- รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยวัณโรคปอดโดยเสมหะพบเชื้อ จากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และถูกส่งต่อข้อมูลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานวัณโรคในพื้นที่ทราบเพื่อติดตามที่บ้าน และประสานเครือข่ายสุขภาพ ติดตามดูแลผู้ป่วย อสม.เขตรับผิดชอบติดตาม DOT เป็นระยะเวลา 2 เดือนที่ผู้ป่วยรักษาวัณโรคระยะเข้มข้น หากมีปัญหาสามารถติดต่อขอคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทางช่องทางออนไลน์
- ผลการดำเนินงานติดตามไม่พบผู้ป่วยขาดยา และมีการติดตาม DOT ผู้ป่วยวัณโรคทุกราย พบผู้ป่วย 1 ราย มีผลตรวจเสมหะหลังสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นตรวจพบเชื้อ ผู้ป่วยวัณโรคปอดและผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด มีความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนของเครือข่ายสุขภาพอำเภอธาตุพนม ในระดับสูง (M=4.33, SD=0.28) 4) ปัจจัยความสำเร็จคือ มีหน่วยงานการให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดใน ผู้ป่วยมีความไว้ใจและมีช่องทางในการรับคำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ได้ทันทีจากแพทย์
อำเภอธาตุพนมควรนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชน โดยเครือข่ายสุขภาพอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคในทุกราย และเพิ่มการติดตามการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยจนครบ 6 เดือน
References
เขตสุขภาพที่ 8. (2562). รายงานประจำปี 2562. (เอกสารอัดสำเนา).
เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ. (2562). การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 36-47.
รุจิเรข ล้อไป. (2561). การเสริมพลังภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการพัฒนาความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ในตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร.9, 24, 15-23.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม. (2562). รายงานผลการดำเนินงานคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ปี 2562.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม. (2563). รายงานสถานการณ์วัณโรคอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม R506 ปี 2563.
ไพฑูรย์ อุ่นบ้าน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลรักษาวัณโรคด้วยยาระบบสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ของโรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 12, 23-36.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2556). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแหง่ชาติ พ.ศ. 2556. (พิมพ์ครั้งที่ 2) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย National Tuberculosis Control Program Guidelines, Thailand. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
อวินนท์ บัวประชุม. (2559). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและการดุแลสุขภาพ, 34, 54-60.
อัญชลี มงกุฎทอง, เชิดพงษ์ ทองสุข และแดนสรวง วรรณวงษ์สอน, (2565). การพัฒนารูปแบบการควบคุมโรควัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปราจีนบุรี. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์. 53, 109-118.
Banuru, M., Prasad, Sarabjit, S., Chadha, Pruthu Thekkur, et al. (2020). Is there a Differençe in Treatment Outcome of Tuberculosis Patients: Rural Health Provider Versus Community Health Workers?. Journal of Family Medicine and Primary Care, 9(1), 259-263.
Best, J. W. (1978). Research in Education(3rded). New Delhi: Prentice Hall, Inc.
Bloom, B. S. (1956). Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA). Retrieved from http://www.mycoted.com/creativity/ techniques/pdca.php
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน