การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืององค์พระปฐมเจดีย์ เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : พฤติกรรมการควบคุมโรค โรคไตเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืององค์พระปฐมเจดีย์เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลนครปฐม การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมโรค การสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากระยะที่ 1 และยกร่างรูปแบบโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค ในกลุ่มทดลองจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Pair Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีพฤติกรรมการรับรู้ความาสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และพฤติกรรมการควบคุมโรคอยู่ในระดับปานกลาง
- รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่หนึ่งการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองการควบคุมโรคด้านอาหารและยา ขั้นตอนที่สอง การพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองการควบคุมโรคด้านการออกกำลังกาย การกลั้นปัสสาวะ และ ขั้นตอนที่สามการพัฒนาการคงพฤติกรรมการควบคุมโรค
- ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติ และพฤติกรรมการควบคุมโรค สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่งผลให้ค่าการกรองของไตสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการทำงานของไตลดลง กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ดังนั้น รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการควบคุมโรค ในทางที่ดีขึ้น ควรขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การจัดการโรคไตเรื้อรังนำสู่การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังการประชุมประจำปีสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562, จาก http://www.hfocus.org/content/2017/08/14351.
กังสดาล หาญไพบูลย์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 โรงพยาบาลคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร วิทยานิพนธ์ ส.ม. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กัลปังหา โชสิวสกุล, นพวรรณ เปียซื่อ และสุรวิทย์ ศักดานุภาพ. (2560). ผลของโปรแกรมบูรณาการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีปัญหาซับซ้อน. วารสารการพยาบาล.32(4), 79-93.
เบญจมาศ เรืองดิษฐ์, เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์ และชูลันดา สะมะแอ. (2559). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 194-207.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์, 40(5), 5-18.
พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. (2559). ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 205-215.
รัตตินันท์ สิงห์ประเสริฐ, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ และวรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. (2561). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยพยาบาลปฏิบัติการขั้นสูงต่อผลลัพธิ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารการปฏิบัติพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 5(1), 57-73.
วัชราพร สนิทผล,นันธิดา จาระธรรม และจันทร์เพ็ญ ประยงค์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 13(2), 48-63.
อติเทพ ผาติอภินันท์. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. NewYork: McGraw-Hill.
Moktan, S., Leelacharas, S. & Prapaipanich. W. (2019). Knowledge, Self-Efficacy, Self-Management Behavior of the Patient With Predialysis Chronic Kidney Disease. Rammathibodi Medical Journal, 42(2), 38-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน