ผลของโปรแกรมการใช้อาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกาย ในบุคลากรโรงพยาบาล อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา คำมะทิตย์ Boromarajonani College of Nursing Udonthani
  • อัยยา โสภาค วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

การออกกำลังการ, ลดน้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย, อาหารคลีน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมอาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายในบุคลากรโรงพยาบาล อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน จำนวน 27 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการใช้อาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกาย การให้ความรู้ตามหลัก 2 อ. อาหารและออกกำลังกาย แบบบันทึกน้ำหนักและดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Sign Ranks Test ผลการวิจัยพบว่าหลังใช้อาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกายในเจ้าหน้าที่มีน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมอาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < .001) ควรนำหลักการรับประทานอาหารคลีนร่วมกับการออกกำลังกายไปจัดทำเป็นคู่มือสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มี       ค่าน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยสามารถจัดเป็นเมนูอาหารหมุนเวียนได้

References

คณิตา จันทวาส, ชนัญชิดา ดุษฎีทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2564). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อ พฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัวของบุคลากรสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารคณะพยาบาล ศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 70-82.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. (2557). สุขภาพคนไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พรินติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ญาดา แก่นเผือก, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, และวรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม. (2557). ผลลัพธ์ของการกำกับตนเองใน การรับประทานอาหารและการเดินเร็วเพื่อควบคุมน้ำหนักของหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัย บูรพา, 9(1), 91-103.

ณัฐพนธ์ นันทพรพิสุทธิ์. (2559). อาหารไทย Clean Food. กรุงเทพฯ: แม่บ้านจำกัด.

ทิฆัมพร ราชวงศ์. (2558). อาหารคลีนเพื่อสุขภาพ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอสจำกัด.

ทิพย์สุดา ไกรเกตุ. (2550). การพัฒนากิจกรรมการควบคุมน้ำหนักสำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล. (2558). Clean Food. กรุงเทพฯ: สายธุรกิจโรงพิมพ์.

วริษา ศิริเวชยันต์. (2560). ผลของอาหารสุขภาพที่มีผลต่อดัชนีมวลกายของบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 151

ศรุติ เจริญธรรม. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนทั้งแบบวางแผนและไม่วางแผน. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2562). ความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารคลีนของผู้ บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(4), 686-692.

สาวิตรี สระทองเทียน. (2558). Easy Cooking: Clean Food. กรุงเทพฯ: เดย์โพเอทส์ จำกัด.

สง่า ดามาพงษ์. (2557). Clean Food (อาหารคลีน). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560, จากhttp://dbcar.car.chula.ac.th/subjectplus/subjects/guide.php?subject=Clean%20Food.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจ ร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. กระทรวงสาธารณสุข.

อาณดี นิติธรรมยง. (2558). Thailand Food Innovation Forum. สถาบันโภชนาการ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย มหิดล.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Khongphianthum, O., Rattanagreethakul, S., & Toonsiri, C. (2016). Effects of Selft- Regulation Program on Hulahoop Exercise, Dietary Control and Waist Circumference among Central Obesity Health Volunteers. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(4), 77-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31