ประสิทธิผลของการฝึก Reaction Time ต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ในผู้สูงอายุ 70-80 ปี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ทองดำ โรงพยาบาลควนเนียง
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การฝึก Reaction time, การทรงตัว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน และหลังการทดลอง (One-Group Pre-test Post-test Experiment) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึก Reaction time ต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลควนเนียง ผู้สูงอายุ 70-80 ปี จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึก Reaction time  และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดการทรงตัว (TUGT) และแบบวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (30 Second Stand test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า

หลังการฝึก Reaction time ผู้สูงอายุ 70-80 ปี มีการทรงตัว (M=11.92, SD=0.74) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (M=17.51, SD=3.38) ดีขึ้น (M=12.84, SD=0.66; M=14.48, SD= 2.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

ดังนั้น โรงพยาบาลควนเนียง และสถานบริการสุขภาพในเครือข่ายควรนำการฝึก Reaction time ไปประยุกต์ใช้ทางคลินิก หรือนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการฝึกแบบอื่นเพื่อเพิ่มการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาให้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการหกล้มลดน้อยลง และลดอัตราการบาดเจ็บจากการหกล้มในผู้สูงอายุต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563 (บริการสารสนเทศออนไลน์) จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275. เกรียงไกร ชูศักดิ์, ภคอร ฉบับพงษ์, เยาวภา แหลมฉลาด และอรวรีย์ อิงคเตชะ. (2555). การเปรียบเทียบผลของการฝึกเวลาปฏิกิริยาก่อนและหลังด้วยโปรแกรมป้อนบอลและลูกบอล Reaction ในกีฬาเทเบิลเทนนิส.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 12(2), 51-59. ณุวีร์ เกิดสมบูรณ์. (2558). ผลของการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกมินิเทนนิสที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองมือและตา และการทรงตัวของเด็กออทิสติก.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทิวาพร ทวีวรรณกิจ, สุกัลยา อมตฉายา. (2558). แบบประเมินความสามารถทางกายของผู้สูงอายุแบบองค์รวม. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564 จาก https://pt.or.th/PTCouncil/file_attach/24Nov201516-AttachFile1448367076.pdf นุกูล ฉายสุริยะ. (2550). ผลของการฝึกการประสานงานของตากับมือด้วยลูกบอลที่มีต่อปฏิกิริยาตอบสนอง.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริศนา รถสีดา. (2561). การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน :บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. ภาคภูมิ พิลึก. (2552). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องขนาดแตกต่างกันที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ออฟเซ็ท เพรส จำกัด Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191. Hazeldine, R. (1987). Fitness for Sport. London: The Crorood Press Mailbrourn. Lajoie, Y., Girard, A.& Guay, M. (2002). Comparsion of the Reaction Time: the Berg Scale and the ABC in Non-Fallers and Fallers. Arch Gerintol Geriatr, 35(3), 215-25

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30