นวัตกรรมแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน
คำสำคัญ:
แผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน, นวัตกรรม, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง และพัฒนาแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนวัตกรรมแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลินกับค่าเฉลี่ยระดับดี ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความต้องการ 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ 3) สร้างชุดแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน 4) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) ทดลองใช้ 6) พัฒนาแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความพึงพอใจของนวัตกรรมแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน กับการฉีดยาแบบเดิม ตามความคิดเห็นของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคได้เท่ากับ 0.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า
- พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน สามารถบอกถึงขนาดอินซูลินได้ถูก โดยอ่านขนาดอินซูลินที่ระบุบนนวัตกรรม และสามารถดูดอินซูลินได้ถูก เนื่องจากมีแถบสีบ่งชี้ถึงขนาดอินซูลินที่ฉีดได้อย่างชัดเจน
2. ผู้ป่วยเบาหวานมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลินในระดับดีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นในประเด็นตัวอักษรและสัญลักษณ์ของชิ้นงานชัดเจน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง. (2563). Service Profile. รายงานประจำปี.
วีระศักดิ์ ศรินนภากร, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, และทองคำ สุนทรเทพวรากุล. (บ.ก.). (2555). ตำราอินซูลิน. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร.
สุกฤตา ตะการีย์ และศากุล ช่างไม้. (2562). ผลลัพธ์ของการพยาบาลที่มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาล, 68(3), 48-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน