การศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ของอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ คุณภาพชีวิต/คณะกรรมการ พชอ./การขับเคลื่อนงาน พชอ.บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองศรีสะเกษ คณะอนุกรรมการแต่ละสาขา ผู้แทนจากส่วนราชการและสถานบริการสุขภาพในเขตอำเภอเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และแบบประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ UCCARE โดยประยุกต์ใช้จากแบบประเมินของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
- รูปแบบในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่มาจากทุกภาคส่วน ภายใต้การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา ร่วมกันแก้ปัญหา และร่วมรับประโยชน์ มีการประชุมแบบมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ วิเคราะห์ปัญหาและคัดเลือกประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน คือ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเมืองสุขภาพดี (Healthy City) โดยมีเป้าหมายให้คนเมืองศรีสะเกษเป็นคนสุขภาพดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีเศรษฐกิจที่ดี มีชุมชนและสังคมดี นอกจากนี้แล้วยังมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 5 ประเด็น ได้แก่ ปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย ออกกำลังกาย และการเพิ่มรายได้ 2) การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ตามเกณฑ์ UCCARE พบว่า ประเด็นปัญหาทั้ง 5 ประเด็น ผ่านการประเมิน ระดับ 4 ขึ้นไป มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจากปีก่อน และมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การเชื่อมประสานข้อมูล และบูรณาการการทำงานในระดับจังหวัดและอำเภอ สามารถนำทรัพยากรด้านคน เงิน สิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ได้ และประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความสามารถที่หลากหลายทำให้ง่ายต่อการพัฒนา และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีการประชุมทบทวนประเด็นพัฒนา คืนข้อมูล และติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นประจำ
ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ควรมีช่องทางรับข้อมูลหรือปัญหาที่จำเป็นของพื้นที่ และสามารถนำมากำหนดแนวทางร่วมกันในการจัดการหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และควรมีการเปิดโอกาสให้ชุมชนหรือภาคประชาสังคมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานประเด็นปัญหาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่แท้จริง
References
มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. (2563). บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.นนทบุรี.
ฤทัย วรรธนวินิจ. (2561). แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
วัฒนา นันทะเสน. (2558). การประเมินผลระบบสุขภาพอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(30), 105-113.
วัฒนา สว่างศรี. (2560). ถอดบทเรียนการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ศรีเรือน ดีพูน. (2562). ประสิทธิผลของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ ในพื้นที่นำร่องอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน ,7(2), 263-281.
ศิวภรณ์ เงินราง. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2),108-116.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (30เป้าประสงค์ที่มีความสำคัญลำดับแรก) [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2564 จาก http://sdgs.nesdb.go.th/goal
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ.2559-2563. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดปี 2563. ศรีสะเกษ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561 [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2564 จาก http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2561/E/054/1.PDF
Stufflebeam, D. L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision-Making. Itasca, Illinois : Peacock.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน