การประเมินผลการดำเนินงานโครงการตลาดอาหารปลอดภัย โรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • เล็ก แซ่เฮ้ง โรงพยาบาลสนามชัยเขต

คำสำคัญ:

การประเมินผล, อาหารปลอดภัย, ตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลและค้นหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการตลาดอาหารปลอดภัย โรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัด  โดยใช้รูปแบบการประเมินผลแบบซิปโมเดล ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) คณะทำงานตลาดอาหารปลอดภัย 2) ผู้ค้าในตลาดอาหารปลอดภัย 3) ผู้บริโภคในตลาดอาหารปลอดภัย จำนวน 140 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าภาพรวมทั้ง 4 ด้านของโครงการ ได้แก่ 1) ด้านบริบท กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมว่าโครงการ ฯ มีความเหมาะสมในระดับมาก (M = 3.96, SD = 0.74) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมว่าโครงการ ฯ มีความเหมาะสมในระดับมาก (M = 3.56, SD = 0.79) 3) ด้านกระบวนการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมว่าโครงการ ฯ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (M= 3.45, SD = 0.83 4) ด้านผลผลิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมว่าโครงการ ฯ มีความเหมาะสมในระดับค่อนมาก (M= 3.82, SD = 0.64)

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงดังนี้ 1) ขึ้นทะเบียนผู้ค้าเป็นกลุ่ม 2) เพิ่มสินค้าให้หลากหลาย 3) ปรับปรุงทบทวนข้อตกลงของตลาดให้ผู้ค้าเข้าใจ 4) เพิ่มวันเปิดตลาดอีก 1 วัน 5) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ตลาด 6) กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าไม่เป็นตามแผนงาน 7) ออกใบรับรองผลการตรวจคุณภาพสินค้า

References

Biothai Information Department (2011). Effects of Pesticides on Thai Health, Biological Vision. Retrieved June 2, 2018 from https://biothai.net/node/8691.
Bumrungrad National HOSPITAL. (2009). Cancer Food Delicious, Better Health Magazine. Retrieved June 10, 2018 from https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/2552/cancer-prevention/are-you-eating-your-way-to-cancer.
Meemak, W. (2015). The Evaluation of Green Market in Empowering People: A Case Study of Surin Province. Journal of Social Science Srinakharinwirol University, 18, 161-175.
Noinart, W., Sriboonruang, P., & Rangsipaht, S. (2017). Factors Related to Purchasing Decision towards Pesticide Free Agricultural Products of Consumers, Golden Place Shop, Kasetsart University Branch, King Mongkut’s Agricultural Journal, 35(1), 136-145.
Phoopui, S., & Intrakamhaeng, M. (2016). The Food Safety Program for Local Community Markets in Phon Sub-District, Khammuang District, Kalasin Province, JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH, 10(2), 50-60.
Sangkumchaliang, P., & Pakdee, P. (2016). The Influence of Agricultural Certification Perception and Knowledge on Purchasing Behavior of Organic Agricultural Product in Khon Kaen Province, Thailand, Khon Kaen Agricultural Journal, 44(2), 247-256.
Strategy and Planning Division. (2017). Public Health Statistics Report. Retrieved June 2, 2018 from http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_ FullScreen.aspx?reportid=441&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=15.
Stufflebeam, D. L. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock.
Thai Pan. (2016). Report on Surveillance of Fruits and Vegetables Contaminated with Toxic Substances 2nd 2016. Retrieved June 10, 2018 from https://www.thaipan.org/action/540.
Wangpakapattanawong, P. (2010). โภชนาการของข้าวและนวัตกรรมการใช้ประโยชน์. Thai Journal of Clinical Nutrition (TJCN), 4(1), 32-40.
Wetwitayaklung, P. (2013). COCONUT PROTEINS. TPBS, 8(1), 9-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-24