ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีอัตราการกรองของไตลดลง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • นนทิยา สายสุวรรณ์ Mahidol University
  • ภัคพงษ์ ทองย่อย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อริสรา แก้วใส โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วชิรวิทย์ ทานะสินทร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

อัตราการกรองของไต, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีอัตราการกรองของไตลดลง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ โดยคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ 2 ตัวแปร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 69 คน แต่มีประชากรที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก 76 คนจึงเก็บข้อมูลทั้งหมดด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Spearman Rank Correlation Coefficient และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พันธุกรรม (rs=0.294, p-value=0.010) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (r= 0.189,       p-value=0.017) จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน (rs=0.106, p-value=0.032)

ดั้งนั้น จึงควรส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและประสานความร่วมมือกับสหวิชาชีพในด้านการจัดการยา

References

กวิศรา สอนพูด, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล .(2563). การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแลประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขานครินทร์, 40(1), 101-114.

ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(2), 24-33.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์, 40 (กันยายน-ตุลาคม), 6-17.

เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 129-146.

ภราดร ล้อธรรมมา และศศิธร ชิดนายี. (2559). พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(1), 59-66.

วีนัส สาระจรัส, แอนนา สุมะโน. (2561). ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3), 13-23.

ศศิธร ดวนพล, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และพิทยา ศรีเมือง. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 145-155.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). โรคไตวายเรื้อรัง มหันตภัยเงียบ. (อินเทอร์เน็ต) สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/ 2425120.html เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอำนาจเจริญ. (2562). มูลนิธิชลลดา มอบเครื่องฟอกไตและอุปกรณ์ฟอกไต ให้แก่โรงพยาบาลอำนาจเจริญ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/ detail/TCATG190224074352962

Philip Kam-Tao Li, Guillermo Garcai-Garcia, Siu-Fai Lui, et (2020). Kidney Health for Everyone Everywhere -From Prevention to Detection and Equitable Access to Care. Nefrologia, 40(2), 133-141.

Zhang, Q. L., & Rothenbacher, D. (2008). Prevalence of Chronic Kidney Disease in Populationbased Studies: Systematic Review. BMC Public Health, 8(1), 117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26