การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมจากกระป๋องน้ำอัดลม สำหรับผู้ปกครองในเด็กวัยประถมศึกษา หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม, ผู้ปกครองเด็กวัยประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมจากกระป๋องน้ำอัดลม สำหรับผู้ปกครองในเด็กวัยประถมศึกษา หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประชากรเป็นผู้ปกครองที่มีเด็กวัยประถมศึกษาเล่นทอดไข่ในกระป๋องน้ำอัดลมเลียนแบบจากคลิปวีดีโอในสื่อออนไลน์ จำนวน 40 คน ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้สื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม จากกระป๋องน้ำอัดลม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า
สื่อด้านสุขภาพที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ มีค่าเท่ากับ 1.33 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังเรียน มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p–value≤0.001)
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม จากกระป๋องน้ำอัดลมสามารถนำไปใช้กับผู้ปกครองในเด็กวัยประถมศึกษา หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ชลธิชา จุ้ยนาม และนพพร จันทรนาชู.(2558). พฤติกรรมและผลจากการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุโขทัย.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2558; 8(3) : 84-95.
พัชรีเมือง มุกสิ. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาพอินโฟกราฟฟิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายวชิา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบณัฑิต สาขาเทคโนโลยคีอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยพีระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนต์ชย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพวิเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยพีระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สงกรานต์ ลาพมิล.(2560). การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับแกน นำสุขภาพประจำครอบครัวชนเผ่าลาหู่ ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่:วิทยานิพนธ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวทิยาลยัราชภัฏเชียงใหม่
โสภาพันธ์ สอาด.(2558). “การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใชสื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง”.วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 26 ฉบบัที่ 2 พ.ศ.2558: 41-49
Bloom. Benjamin S. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives: Cognitive and Affective Domains. New York: David McKay.
Caya JG, Agni R, Miller JE.(2004) Clostridium botulinum and the clinical aboratorian: a detailed review of botulism, including biological warfare ramifications of botulinum toxin. Arch Pathol Lab Med. 2004; 128(6): 653-62.
Smith LDS, Sugiyama H.(1988). Botulism: the organism, its toxins, the disease, 2nded. Thomas, Springfield; 1988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน