ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมจิตบริการ, บุคลากรสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 263 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการ และแบบสอบถามพฤติกรรมจิตบริการผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงระหว่าง .67 – 1.00 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคระหว่าง .805 - .959 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล พฤติกรรมทางวัฒนธรรมยุคไทยแลนด์ 4.0 และสมรรถนะทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความสามารถทางการบริหาร ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ระดับมาก สำหรับพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลาอยู่ในระดับมากที่สุด
- 2. ปัจจัยด้านความสามารถทางการบริหาร การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยี สมรรถนะทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมทางวัฒนธรรมยุคไทยแลนด์ 4.0 สามารถทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา ร้อยละ 70.90 (adj.R2 = .709) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาควรจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริการสู่ความเป็นเลิศแก่บุคลากรสาธารสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายใต้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้จากสถานบริการที่มีผลงานเด่น ตลอดจนการประกวดการพัฒนาระบบบริการด้วยจิตบริการ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แผนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555-2559. นนทบุรี: แก้วกัลยาสิกขาลัย.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ และอัจฉรา คำมะทิตย์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(3): 51-62.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้. (2561). เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ คำชี้แจงสำหรับผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.consumersouth.org/paper/1429.
จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา และศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. (2560). สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรมในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4(3): 14 – 28.
ชมพู เนินหาด, ดาราวรรณ รองเมือง, ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์ และ นุชนาถ ประกาศ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3): 43-55.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
โชติรส นพพลกรัง, ศิรดล ศิริธร, ถิรยุทธ ลิมานนท์. (2558). ดรรชนีการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยโรคเบาหวานกรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 10(1): 77-86.
นิชดา สารถวัลย์แพศย์, วนิดา ชวเจริญพันธ์, พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2559). ผลของการใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความสุข และพฤติกรรมจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการบริหารพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2): 105 – 113.
บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14(2): 46-58.
ปิยาภรณ์ ทองประดิษฐ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และ ดวงใจ รัตนธัญญา (2557) ศึกษาปัจจัย คัดสรรคุณลักษณะที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาทสี่กับพฤติกรรมบริการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารสภาพการพยาบาล. 26(4): 55-69.
วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิและคณะ. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2): 262 – 283.
วิจิตร์ โทนศิริ, ยุพิน อนิวรรตอังกูร, ณัฐยา แซ่อึ้ง. (2557). การปรับเปลี่ยนขั้นตอน การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยระบบ iQ200@ เพื่อลดระยะเวลารอคอยผลและลดค่าใช้จ่าย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 31(4): 266 – 280.
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2561). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และปราณีต ส่งวัฒนา. (2557). วิธีการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดทฤษฎีของ แคมพินฮา-บาโคท. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(1): 146-157.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, ประณีต ส่งวัฒนา และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2557). คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(2): 47-55.
ศุลีพร เพชรเรียง, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ. (2562). คุณลักษณะอาจารย์พยาบาลที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 71 – 82.
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). Digital literacy คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp.
อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การทที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 16(7), 855 – 863.
อินท์ฉัตร สุขเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. วารสารราชพฤกษ์. 16(2): 120-129.
Aragaw, A., Yigzaw, T., Tetemke, D., & G/Amlak, W. (2015). Cultural competence among maternal healthcare providers in Bahir Dar City Administration, Northwest Ethiopia: cross sectional study. BMC Pregnancy & Childbirth, 15: 227.
Campinha-Bacote, J. (2002). The process of cultural competence in the delivery of healthcare services: a model of care. Journal Transcultural Nursing, 13(3): 181-184.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J.B., & Anderson, E.R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน