ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การส่งเสริมสุขภาพ, พระสงฆ์, เขตอำเภอพิบูลย์รักษ์บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์และแนวการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการ จำนวน 104 รูป ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี รายด้านโดยรวม มีระดับการการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ ด้านตัวแปรตาม โดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง (M=3.21, SD=.52) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับ ปานกลาง จำนวนทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ ด้านการนำนโยบายการส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติ (M=3.28, SD=.51) ด้านการประเมินนโยบายการส่งเสริมสุขภาพ (M=3.26, SD=.60) และด้านการกำหนดนโยบายการส่งเสริมสุขภาพ (M=3.08, SD=51) ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .516
3. แนวการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานีควรมีการกำหนดกฎเกณฑ์การพัฒนาแนวทางการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา การดูแลสุขภาพตนเองและพระสงฆ์ในพื้นที่รับผิดชอบ และกำหนดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์โดยการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน สร้างแบบจำลองพฤติกรรมของพระสงฆ์ และการซักถามข้อมูล การรับฟัง การบรรยาย สรุปนโยบายที่นำไปปฏิบัติต่อพระสงฆ์การจัดทำแผนโดยจะต้องมีความชัดเจนในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพในทุกด้านตลอดจนค้นพบสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพพระสงฆ์ข้อมูลตามตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อเกิดความสอดคล้องกับนโยบาย
References
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, 2542.
ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธ.ค.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี, 2562.
ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14 ก.ค,2562.
ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) 18/03/2559.
จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญจามจุรีย์ ทนุรัตน์กฤษดา พรหมวรรณ์ระบอบ เนตรทิพย์. (2548). รูปแบบการ
ส่งเสริมสุขภาพในพระสงฆ์เขตเทศบาลตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน.การวิจัยจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.สสส.และชมรมพยาบาลแห่งประเทศไทย.
ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล. (2549). สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Healt),2549. สืบค้นวันที่ 8
ธันวาคม 2562 เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140405
นันทนา ปรีดาสุวรรณ และนันทนา ปรีดาสุวรรณ และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริม
สุขภาพพระสงฆ์และสามเณร:กรณีตำบลนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.
น่าน:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต รศ.ดร. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์
ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย,งานวิจัยทุนอุดหนุนการ
วิจัยบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยาเขตขอนแก่น.
รัชนี มิตกิตติ. (2559). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน:
วารสารสภาการพยาบาลปีที่ 31ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย.,2559.
วิชิต เปานิล. (2547). ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย. ใน อภิรดี ศรีโอภาส (บรรณาธิการ), เอกสาร
การสอนชุดวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์.
สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2554). การนำนโยบายการบริการสาธารณะแก่ผู้สูงอายุไปปฏิบัติ:กรณีศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบล 16 แห่ง.ดุษฎีนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์.มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน