ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, ควบคุมระดับความดันโลหิตได้บทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางนี้ ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองสมอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 353 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบแบบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ป่วยร้อยละ 84.1 มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองภาพรวม ระดับปานกลาง
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (c2 = 8.268, p < .05) ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (c2 = 3.985, p < .05) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (c2 = 11.962, p < .001) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (c2 = 5.048 ,p < .05) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันตนเองจากโรค (c2 = 11.684, p < .01) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค (c2 = 9.427,p < .01) ส่วนเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ การมีโรคร่วม การรับรู้ประโยชน์ และปัจจัยกระตุ้นไม่มีความสัมพันธ์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค ความรุนแรงของการเกิดโรค และลดการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมด้วยตนเองให้ดีขึ้นและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน