ความพร้อมในการทำงานและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อม ในการทำงานของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ประทีป กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • รุ่งนภา แสงแดง นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  • เบญญาภา กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการทำงาน, ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษา, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการทำงาน เปรียบเทียบความพร้อมในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาทั้ง 4 หลักสูตร ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2562 ที่กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยหาค่าความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถาม ด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า  IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และ เปรียบเทียบความพร้อมในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้สถิติ t-test และ One-Way ANOVA และวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการทำงานโดยใช้สถิติ Pearson Correlation Coefficient: (r) ผลการวิจัยพบว่า

1) ความพร้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.11, SD=0.43) 2) ความพร้อมในการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม และชั้นปี แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.192, 0.735, 0.334, และ 0.520 ตามลำดับ) 3) ด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ และ ด้านการบริการนักศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.539 , p<0.001; r=0.565 , p<0.001; r=0.405, p<0.001 และ r=0.369 , p<0.001 ตามลำดับ)  

ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาถึงตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการทำงาน    และการวิเคราะห์หาปัจจัยสภาพแวดล้อมเพื่อให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทในวิทยาลัยมากขึ้น

References

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2552). กระบวนทัศน์ มโนทัศน์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมการศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 จาก http://www.nidapoll.nida.ac.th.
บุษกร จินตธนาวัฒน์. (2557). แนวทางการเตรียมความพรอมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรองรับการเขาสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(2), 13-30.
พีรพัฒน์ เพชรแก้ว และศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2561). ความพร้อมในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสาร“ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 314-322.
ไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลในความพร้อมของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความพร้อมในการทำงานเป็นกลุ่ม และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 25, 195-204.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทย กับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
อาทิตยา ดวงมณี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทาง การเรียนกับความพร้อมในการเรียนรู้ ด้วยการนำตนเองของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(2), 19-20.
อารี ผสานสนิธุวงศ์. (2559). ความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(23), 48.
Best, J.W. & Kahn, J.V. (1998). Research in education. 8th ed., Boston: Allyn & Bacon.
Pander, R. and Verma, M.R. (2008). Samples Allocation in Different Strata for Impact Evaluation of Developmental Programme. Rev. Bras. Biom., São Paulo, v.26, n.4, p.103-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28