ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของ ประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 บ้านซับถาวร ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ธนากร วรัมพร กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
  • ยุวดี สาระพันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลราชันย์
  • สุนิศา แสงจันทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พยาธิใบไม้ตับ, ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 บ้านซับถาวร ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว จำนวน 200 คนได้มาจากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณแบบทราบขนาดประชากร (Krejcie & Morgan, 1970) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.5 และ ร้อยละ 77.0

2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ พบ 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ (r= 0.194, p<0.001) ทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ (r= 0.258, p<0.001) การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยจากโรคพยาธิใบไม้ตับ (r= 0.141, p<0.05) ส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับรวมมีความสัมพันธ์เช่นกัน (r= 0.173, p<0.05)

ดังนั้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันที่เหมาะสม จึงควรได้มีการยกระดับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพดังกล่าวของประชาชนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สังคม
และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสามกลุ่มวัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก
https://www.tci- thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/download/73834/59581/0
เกสร แถวโนนงิ้ว, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, เสรี สิงห์ทอง และนิตยา ชุดไธสง. (2559).
อุบัติการณ์และการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบน ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก
http://thailand.digitaljournals.org/tdj/index.php/JHS/article/viewFile/266/261
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และ นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2556). ความฉลาดทางด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561.
เข้าถึงได้จาก www.hed.go.th/menuHome/file/413
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561.
เข้าถึงได้จาก http://hpc5.anamai.moph.go.th/director/data/HL/HLO_chanuanthong.pdf
พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคมือเท้า ปากของผู้ปกครอง
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562.
เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/LMJ/article/view/179104
ไพบูลย์ อ่อนมั่ง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ของข้าราชการ
กองทัพเรือ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561. เข้าถึงได้จากhttp://www.nrdo.navy.mi.th/research/Project.htm
ภาวิณี มนตรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคเอดส์กับพฤติกรรมการป้องกันเอดส์ของ
ข้าราชการทหารกองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561.
เข้าถึงได้จาก http://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2014.101/No110/Marinee.PDF
รัชนีวรรณ แก้วโพนเพ็ก. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษา โดยการประยุกต์ใช้
ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/gskku/article/view/22509/19270
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). โรคพยาธิใบไม้ตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561.
เข้าถึงได้จาก http://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-p-opisthorchis-th.php
วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2557). องค์กรและการจัดการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561.
เข้าถึงได้จาก http://fms.vru.ac.th/research/vorapot/A10-5.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สระแก้วพบมะเร็งท่อน้ำดีสูงสุด
ภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก
http://www.sko.moph.go.th/content/view/?id=63
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว กระทรวงสาธารณสุข. (2560). จำนวนผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://203.157.145.19/report/view/?repid-link=66&cat-link=74
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ป้องกัน “โรคพยาธิใบไม้ตับ”
ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 . เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigcd.ddc.moph.go.th/informations/view/371
หทัยกานต์ ห้องกระจก. (2559). อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย
โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920035.pdf
อัจฉรา พาสี. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
และโรคเอดส์ของชายที่เที่ยวสถานบริการทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561.
อัญชลี จันทรินทรากร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม
โรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://doi.nrct.go.th/ListDoi
/Download/208330/52e6fce040d7425438d08ea1903ae045?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2014.42
An Hoc Committee on Health Literacy for the Council on Scientific Affairs. 1999. Health literacy : report of
the council on scientific affairs. Journal of the American Medical Association 281 (6): 553.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological
Measurement, 30(3), pp. 607-610. Lykken, D. & Tallegen, A. (2003). Happiness is a Stochastic Phenomenon.
Retrieved. February 24, 2018. From:http://www.psych.umn.edu/psylabs.happness.happy.
Rowland, G. Khazaezadeh, N., Oteng – Ntim, E.,Seed, P., Barr S. and Weiss B.D. 2013. Development and validation
of a measure of health literacy in the UK : The Newest Vital Sign. BMC Public Health 13 : 116.
Sanders, LM. 2009. Health literacy and child health promotion: implications for research, clinical care, and
public policy. Retrieved April 25, 2018. From: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19861485
The National Health Education Standards. 2007. Promoting Health Literacy Through
the Health Education Assessment Project. Journal of School Health 77 (4): 157 – 163.
World Health Organization. (2018). “Neglected tropical diseases”. Retrieved January
23, 2018, From http://www.who.int/neglected_diseases/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27