การตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล บริเวณพื้นที่ตลาด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธินกร ไฝเพชร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ฟอร์มาลิน, อาหารทะเล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา  เพื่อนำเสนอผลการตรวจวิเคราะห์หาสารฟอร์มาลินที่เจือปนในอาหารทะเลที่จำหน่ายในบริเวณตลาดอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการเก็บตัวอย่างอาหารทะเลจำนวน 48  ตัวอย่าง โดยทำการสุ่มตัวอย่างอาหารทะเล 4 ประเภท คือ ปลาหมึก กุ้ง ปลาหมึกกรอบ  และแมงกะพรุนจากร้านอาหารทะเล 4 ร้าน จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน โดยใช้ชุดทดสอบ สารฟอร์มาลีนในอาหาร ของกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอผลการตรวจวิเคราะห์สารฟอร์มาลีน ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ

          จากการสุ่มสารฟอร์มาลีนตรวจจากร้านจำหน่ายอาหารทะเล 4 ร้าน รวมทั้งหมดตรวจตัวอย่าง 48 ตัวอย่าง ในอาหารทะเล ได้แก่ ปลาหมึก กุ้ง ปลาหมึกกรอบ และแมงกะพรุน โดยตรวจพบสารฟอร์มาลีนจากร้านจำหน่ายอาหารทะเล 3 ใน 4 ร้าน (75%) และตรวจพบสารฟอร์มาลีนในปลาหมึกกรอบ 4 ตัวอย่าง (33.33%) และ แมงกะพรุน 1 ตัวอย่าง (8.33%) 

          จากการตรวจพบสารฟอร์มาลีนในอาหารทะเล ทำให้เล็งเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุขและเทศบาล จะต้องหามาตรการในการป้องปราม สุ่มตรวจป้องกันการนำอาหารทะเลที่ปนเปื้อนมาจำหน่ายให้กับประชาชน  และควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่ปนเปื้อนมากับอาหาร  ให้กับผู้ประกอบการได้เข้าใจและขอความร่วมมือในการปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้บริโภคในพื้นที่

References

กองควบคุมอาหาร สำนักอาหารและยา. (2545). อันตรายจากฟอร์มาลินในอาหาร. วารสารอาหารและยา. มกราคม-เมษายน 2545: 9(1): 71-2.
กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2553). พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง 2553), ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151(พ.ศ.2536) เรื่อง กำหนดวัตถุห้ามใช้อาหาร มิถุนายน 2553: 107.
จิรารัตน์ เทศะศิลป์. (2545). ปัญหาสารปนเปื้อนและสารตกค้างในสัตว์น้ำ. สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
ชนิพรรณ บุตรย. (2546). คอลัมน์: รู้ก่อนกิน เรื่อง ฟอร์มาลินกับอาหาร. นิตยสารหมอชาวบ้าน;165.
ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ. (2011). ข้อกำหนดและมาตรฐานในอุตสาหกรรมไม้ประกอบ. Journal of Forest Management; 5(9): 79-89.
รัฐพงษ์ กันสุทธิ์ฒ. (2553). การวิเคราะห์หาปริมาณสารฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลที่จำหน่ายในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุธิตา ตนสุวรรณ และเกษม ต้นสุวรรณ. (2543). การหาปริมาณฟอร์มาลินในอาหารทะเลโดยวิธีสเปกโทรเมตรี. งานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.
เสาวณี หมู่ขจรพันธ์. (2553). ฟอร์มัลดีไฮด์สารปนเปื้อนในอาหาร, วารสาร For Quality. 2546; 10(72):34-7.
JC Wakefield. Formaldehyde, (2008). Toxicological overview. Health Protection Agency2008; 1; 4.
Cherie Berry. (2553). A Guide to Formaldehyde.N.C. Department of Labor. Occupational Safety and Health Program: 2013; 3.
The Nutrition Cancer Institute. (2009). "Formaldehyde and Cancer Risk". [Online]. Cited 2013 Aug 101 Available from: http://www.cancer.gov/concertopic/factsheet/Risk/formaldehyde.11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-26