ผลการใช้นวัตกรรมหมอนหลอดกาแฟ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
คำสำคัญ:
หมอนหลอดกาแฟ, ระดับการปวดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองวัดครั้งเดียวก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอาการปวดหลังสตรีตั้งครรภ์ระยะรอคลอดหลังจากใช้นวัตกรรมหมอนหลอดกาแฟ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ระยะรอคลอดที่มารอคลอดจำนวน 50 คน โดยทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 ถึง วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามระดับอาการปวดหลังแบ่งเป็น 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน (Pair t-test) ผลการวิจัยพบว่า
ค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดก่อนใช้และหลังใช้ พบว่าค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดก่อนใช้และหลังใช้ มีค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดก่อนใช้ (M=5.92, SD = 1.31) ค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดหลังใช้ (M= 3.13, SD = 1.34) เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ควรมีปลอกหมอนมาไว้เปลี่ยน เนื่องจากควรใช้กับผู้ป่วยครั้งละ 1 คน และมีการพัฒนารูปแบบให้มีหลายขนาดตามรูปร่างของผู้ป่วย ตลอดจนเพิ่มระยะเวลาในการใช้
References
กิตติมา ด้วงมณี และคณะ. (2560). ศึกษาผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความปวด และเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงระยะคลอด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(1).
เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลบ้านตาก (2560). ผลการใช้โปรแกรมจัดการความปวดต่อระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. งานวิชาการโรงพยาบาลขอนแก่น.
ปิยะวรรณ ดีชู. (2554). หมอนหลอดกาแฟลดอาการปวดหลัง. สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 61, จาก kmmed.kku.ac.th /vcd/piyawan/piyawan2_2012.pptx.
พิชา กรรณลา. (2559). นวัตกรรมทางการพยาบาล ผลงานพัฒนาต่อเนื่อง แปรงนวดสบายคลายปวด. งานบริการคลอด โรงพยาบาลกันทรลักษ์.
มณีรัตน์ ประจันนวล และคณะ. (2555). ฝากั้นลงคาถา เพิ่มพลังอำนาจมารดาคลอดนวัตกรรมฝากั้น ลงคาถาเพิ่มพลังอำนาจ. งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่องดาว จังหวัดสกลนคร.
รังสินี พูลเพิ่ม และคณะ. (2557). ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความเจ็บปวดและการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3).
วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์. (2553). การพยาบาลระยะตั้งครรภ์. ใน วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์ (บรรณาธิการ). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด. พิมพ์ ครั้งที่ 12.
วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์. (2554). การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน