ความรู้ และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของบุคลากรในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผู้แต่ง

  • กมลชนก เกษโกมล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 250 คน โดยสุ่มแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร อยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.20 ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร อยู่ในระดับสูงร้อยละ 65.20 (M = 2.64, SD = 0.48) และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 59.60 (M = 2.40, SD = 0.49) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = 0.216, P-value < 0.001, r = 0.211, P-value < 0.001 ตามลำดับ)

จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะคือควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถาบันฯ มีการดูแลตนเอง โดยจัดพื้นที่และอุปกรณ์การออกกำลังกาย ตลอดจนสนับสนุนการสร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลตนเองให้กับผู้อื่น

References

ฉัตรณรงค์ พุฒทอง และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 156-165.
ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 66-75.
ปราณี อ่อนศรี. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน พยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 158-167.
สมบัติ กาวิลเครือ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 161-173.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 55-64.
อานนท์ สีดาเพ็ง และนิคม มูลเมือง. (2556). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารศิลป์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 59-105.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1968). Mastery Learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1(2) Losangeles: University of California at Los Angeles.
Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation for Analysis in the Health Sciences. New York: Wiley & Sons.
Dewey, J. (1976). Moral Principle in Education. Boston: Houghton Mifflin Co.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton and Lange.
Wiersma, W., & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson.
World Health Organization. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-20