ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักตัวในเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ในพื้นที่สาธารณสุขโซนที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนพงศ์ กูละพัฒน์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการควบคุมน้ำหนักตัว, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักตัวในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ในพื้นที่สาธารณสุขโซนที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจักราชเป็นกลุ่มทดลอง และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยกำหนดเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการควบคุมน้ำหนักตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ และแบบสอบถามด้านการปฏิบัติตัว ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72, 0.71, 0.93 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักตัว การรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมน้ำหนักตัว พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีค่าค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลลัพธ์ ไม่แตกต่างกัน        ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05, 0.01 และ .001

ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักตัว สามารถทำให้กลุ่มทดลอง มีค่าดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัวลดลงได้ ดังนั้นควรพิจารณานำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานและให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดี

References

กรมอนามัย. (2552). คู่มือพิชิตอ้วน พิชิตพุง. นนทบุรี: กรมอนามัย
กรมอนามัย กองโภชนาการ และกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. (2550). แนวทางการดำเนินงานประเด็นยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย ปีงบประมาณ 2551. นนทบุรี: กรมอนามัย.
กระทรวงสาธารณสุข. (2551). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ และการบาดเจ็บ พ.ศ.2550. นนทบุรี: ประเทศไทย.
ชลธิชา อินทร์จอหอ. (2554). ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักค่าดัชนีมวลกายเส้นรอบเอวของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มอายุ 35-60 ปี. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขสาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. (2554). สุขภาพคนไทย 2554: HIA กลไกพัฒนานโยบายสาธารณะ
เพื่อชีวิตและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จํากัด.
ณรงค์ พันธ์ศรี. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและอ้วน ตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขสาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.
ธัญญารัตน์ นวลประเสริฐ. (2556). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงกลุ่มอายุ 35-60 ปี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พรฑิตา ชัยอำนวย. (2560). ปรับชีวิตพิชิตข้อเสื่อม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ.
เมตตา คุณวงศ์. (2553). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทองที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของแก่น.
รัตนา วิริยะกุล. (2553). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาพพนักงานห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า ที่มีภาวะอ้วนลงพุง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.
ทิวารัตน์ คำเครือคง และคณะ (2552). ประสิทธิผลของกิจกรรมโครงการคนไทยไร้พุงในเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สิยะตรา เกาประโคน (2554). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการลดน้ำหนักในสตรีวัยกลางคนที่มีสภาวะอ้วน อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (สวรส). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข Health Data Center: HDC กระทรวงสาธารณสุข. ณ วันที่ 10 มกราคม 2561.
อัจฉรา คำเขื่อนแก้ว. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Bloom. (1975). Taxonomy of Educational Objectives Hand Book I: Cognitive Domain.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937) The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-02