รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ศศิธร สุขจิตต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • จงรัก ดวงทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วรวุฒิ ธุวะคำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ ภาคีเครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้ในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและการรับรู้พลังอำนาจตนเองของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87) รวมทั้งการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบ Paired sample t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุตามบริบทของชุมชนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ NIRACHALA Model ประกอบด้วย Network: การมีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ Interaction: การสร้างปฏิสัมพันธ์ Resource support: การสนับสนุนงบประมาณทั้งด้านการเงิน บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากเทศบาลและหน่วยงานภาคีเครือข่าย Attitude: การสร้างทัศนคติทางบวกในการดูแลผู้สูงอายุให้กับกลุ่มผู้ดูแลและชุมชน Community: การเตรียมความพร้อมให้ชุมชน เกิดความเข้าใจ รับรู้คุณค่าของผู้สูงอายุ Home Health Care: จัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน Activity for Health: การจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ Literacy: การเสริมสร้างความรอบรู้ให้กับผู้ดูแล Achievement: การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน จนเป็นต้นแบบ “ระบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยชุมชนท้องถิ่น” ซึ่งผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า หลังการพัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ  มีความรู้ความสามารถในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุมากกว่าก่อนการพัฒนาศักยภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีการรับรู้พลังอำนาจตนเองมากกว่าก่อนการพัฒนาศักยภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     ดังนั้น การเสริมพลังอำนาจและสร้างการมีส่วนร่วม ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้และการดูแลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และสามารถให้ผู้ดูแลนำไปใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้

References

กาญจนา บัตรรัมย์. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่
ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ตำบลหนองหัวแรด อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.
เนตรนิภา จันตระกูลชัย. 2557. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรค
ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยคริสเตียน: กรุงเทพมหานคร.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ผู้สูงอายุโลกกับการเตรียมการรับมือสังคม
ผู้สูงอายุของประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2558). รายงานคณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ
ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติจังหวัดอุตรดิตถ์. (2558). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.
2556-2558 จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced
Nursing, 16 : 354-361

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29