ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยชีวสังคมและการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ของผู้สูงอายุตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยชีวสังคม, การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยชีวสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 และ .68 ตามลำดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด Chi-Square test และ Fisher’s Exact test ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการรับรู้การป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.08 และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 63.52 ปัจจัยด้านอายุ 80 – 89 ปี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนเพศ อาชีพ โรคประจำตัว และประวัติการหกล้มในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมา ไม่มีความสัมพันธ์และการรับรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุขภาพ เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรทางสาธารณสุข ควรจัดให้มีการส่งเสริมการปฏิบัติตัวและพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอายุ 80 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กมลทิพย์ หลักมั่น. (2558). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลาพูน. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต), เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐกานต์ ธิยะ. (2551). พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย อุบัติเหตุหญิงโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ:
นงนุช วรไธสง. (2551). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชน. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต), ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เปรมกมล ขวนขวาย. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต), ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. (2558). ผู้สูงอายุและความปลอดภัยในชีวิต: ความท้าทายของสังคมไทย. วารสาร สาธารณสุขศาสตร์, 45: 225-229.
สำนักงานจังหวัดลพบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2556). แผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560. เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2560 จาก https://www.lopburi.go.th /plan_lopburi/plan_lop57-60.pdf
สุนันทา ผ่องแผ้ว. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสาวลักษณ์ อุ่นละม้าย. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ปรโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต), ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัจฉรา สาระพันธ์และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18, 215-222.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน