การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา สระทองพร้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, พฤติกรรม3อ.2ส.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Pre-experimental  Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก3อ.2ส.ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี ตำบลบ้านเลือก อำเภอ      โพธาราม  จังหวัดราชบุรี  และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก3อ.2ส.ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างได้มาจากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึง 1 พฤษภาคม 2561 จำนวน 30 ราย 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง เป็นโปรแกรมเพื่อที่จะลดน้ำหนักหรือรอบเอว ลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน และลดค่าความดันให้เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลก่อนและหลังการนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้เป็นระยะเวลา1เดือน เพื่อประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2ส. ในด้านอารมณ์ ด้านการออกกำลังกาย ด้านอาหาร ด้านการดื่มไม่สุรา ด้านการไม่สูบบุหรี่ ซึ่งโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ1เดือน 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงและแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลก่อนและหลังการนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพมาใช้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  และสถิติอ้างอิง pair t-test

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก่อนการทดลองมีค่า 2.14 และหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 3.13 เมื่อนำค่าเฉลี่ยการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการทดลอง มาเปรียบเทียบกัน  พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก3อ.2ส.ภายหลังการทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)

References

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2555). รายงานสรุปข้อมูลการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อมูลโรคไม่ติดต่อระดับประเทศในการประชุม UN General Assemble High-Level Meeting on the Prevention and Control of Non Communicable Diseases. กรุงเทพฯ:บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด.

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). โครงการส่งเสริมการรณรงค์และขยายผล ศูนย์เรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงต้นแบบสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือลดพุงลดโรค.หน้า 1-10.

นวลนิตย์ ไชยเพชร อุดมศิลป์ แก้วกล่ำ, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์ และยุวดี วิทยพันธ. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีNon Communicable Diseases (NCD’s) High Risk Patients: Effectiveness of a Health Behaviors Changing Programs on Health Behavior in Suratthani. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 45-59.

ปัญญา ไข่มุก. (2556). คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูก ข้อ และวิทยาศาสตร์การกีฬา สสส. เรื่อง ลดพุง ลดโรค ปี 2556.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(1), 2-11.

สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์, อภิเชษฐ์ พูลทรัพย์ และนิดา มีทิพย์. (2560). การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(พิเศษ), 131-145.

สุพิชชา วงศ์จันทร์. (2557). อิทธิพลทางจิตสังคมและการกำกับตนเองที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการที่มีภาวะอ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1-28.

สำรวย กลยณี และศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม .(2562). ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงราใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 17(2), 95-104.

วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

อรรถพงศ์ เพ็ชร์สุวรรณ์. (2552). พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกรณีศึกษา ผู้รับบริการทางการแพทย์เขตสถานีอนามัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต .วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (ก.ย.–ธ.ค. 61). หน้า 11-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30