ผลของฉลากยารูปภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ฉลากยารูปภาพ, พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ก่อนและหลังการได้รับฉลากยารูปภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตที่รับบริการใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี ตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ฉลากยารูปภาพ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาได้ค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
การใช้ฉลากยารูปภาพ พฤติกรรมในด้านตรงเวลาก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย 1.46 หลังการทดลองลดลงค่าเฉลี่ย 1.10 ด้านถูกต้องก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย 2.60 หลังการทดลองลดลงค่าเฉลี่ย 1.13 และรับประทานยาเองและถูกต้องตามฉลากยาเมื่อถูกซักถามก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย 1.20 และหลังการทดลองเพิ่มขึ้น 2.40 หลังการได้รับฉลากยารูปภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม (M=15.60, SD=3.04) สูงกว่าก่อนได้รับฉลากยารูปภาพ (M=11.13, SD=2.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ควรนำฉลากยาไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง
References
กิตติยา ปิยะศิลป์,ปาริฉัตร ม่วงขาว,ณัฐวดี บุรัตน์,ภาพพิมพ์ ประเสริฐสังข์,สุณี เลิศสินอุดม,(2014)“ความเข้าใจต่อฉลากช่วยบนซองยาของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น”
ขัตติยา ชัยชนะ. (2559). นวัตกรรมซองยาผู้สูงอายุ. Retrieved 23 มีนาคม, 2561
ณัฐวรรณ ชัยมีเขียว พย.ม.,ประสบสุข ศรีแสนปาง ปร.ด.(2560)“การจัดการยาด้วยตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหลายโรคในชุมชน”,ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2560
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย. (2561). “นโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณพ.ศ.2562”, สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล, และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2557). “การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ”
ประภาส ขำมาก,สมรัตน์ ขำมาก,มาลิน แก้วมูณี,(2558)“ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง”,วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา,กันยายน - ธันวาคม 2558
ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก,ปวีณา ว่องตระกูล,หรรษา มหามงคล,วรัญญา เนียมขำ,(2559)“การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุกรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ The Survey of Medicine, Food Supplement andHerbal Products Used Problems Among ElderlyA Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province”,ปีที่ 20 ฉบับที่ 39 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559
ภัควรินทร์ พัฒนะพรวัฒน์, 2557, “การพัฒนาชุดฉลากยาสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงอายุ” มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). “สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2558. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์”
วรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2544). “การวัดค่าตัวแปรและการวัดผล ในเอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ”. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภาภรณ์ วังวรตระกูล,นันทวัน สุวรรณรูป กนกพร หมู่พยัคฆ์(2560)“ปัจจัยทำนายการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ,วารสารพยาบาลทหารบก”,ปีที่18ฉบับที่ 1 (ม.ค. - เม.ย.) 2560
วิระพล ภิมาลย์(2557).“การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยารูปภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังสูงอายุ”.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 9 (ฉบับพิเศษ) มกราคม 2557
วีระพล ภิมาลย์, ภัทรพล เพียรชนะ, รวิอร รังสูงเนิน, ลิขิต ฤทธิยา, &วิภาดา ภัทรดุลย์พิทักษ์. (2557). “การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยารูปภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังสูงอายุ”. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9, 109-113.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556).“จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคความดัน โลหิตสูง”. สืบค้นเมื่อ 7 มี.ค. 58 จาก http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์; Uraiwan Chaichanawirote; นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ,“พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย”, 2014-10
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์; Uraiwan Chaichanawirote; นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ,(2014)“พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย”
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน