ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับประสบการณ์ทางทันตกรรมของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ สอดสี องค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก, ประสบการณ์รักษาทางทันตกรรม, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างกลุ่มที่มีประสบการณ์รักษาทางทันตกรรม และกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์รักษาทางทันตกรรม ประชากรในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 9,043 คน มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 385 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดมุ่งหมายในการวัดเท่ากับ 0.6 - 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า

            1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 จังหวัดสุพรรณบุรี องค์ประกอบ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก การประเมินค่าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบการสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรม และการสนับสนุนจากสังคมอยู่ในระดับมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่มีประสบการณ์ทางทันตกรรมและไม่มีประสบการณ์ทางทันตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.74 (SD=0.42) และ 2.68 (SD=0.45)

            2. คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากองค์ประกอบการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และการสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรมของนักเรียนที่เคยมีประสบการณ์ได้รับการรักษากับไม่เคยรับการรักษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            หน่วยงานด้านทันตสาธารณสุขควรพัฒนากลวิธีด้านทันตสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้รอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากให้กับนักเรียนประถมศึกษาโดยสอดแทรกองค์ความรู้ทางทันตกรรมในรายวิชาด้านสุขศึกษาเพิ่มมากขึ้นตลอดจนเป็นการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับบุคลกรทางทันตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนหรือชุมชน

References

Anuphong Sodsee. (2018). Assessment of Oral Health Literacy of Primary School Students. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of
Master of Education in Educational Evaluation, Sukhothai Thammathirat Open University. (in thai)
Bureau of Dental Health Department of Health Ministry of Public Health. (2018) 8th Thailand national oral health survey report 2017. (1st ed.). Bangkok: Samcharoen
Panich Co.,Ltd. (in thai)
Harrington, K. F., & Valerio, M. A. (2014). A conceptual model of verbal exchange health
literacy. Patient education and counseling, 94(3), 403-410.
Horowitz, A. M., & Kleinman, D. V. (2008). Oral Health Literacy: The New Imperative to Better
Oral Health. Dental Clinics of North America, 52(2), 333-344.
Jones, K., Parker, E., Mills, H., Brennan, D., & Jamieson, L. M. (2014). Development and
psychometric validation of a Health Literacy in Dentistry scale (HeLD). Community
Dent Health, 31(1), 37-43.
Ju, X., Brennan, DS., Parker, E., Chrisopoulos, S., and Jamieson, L. (2018). Confirmatory factor analysis of the health literacy in dentistry scale (HeLD) in the
Australian population. Community Dental Health, 35, 140-147.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Rahardjo, A., Adinda, S., Nasia, AA., Adiatman, M., Setiawati, F., Wimardhani, YS. and Maharni
DA. (2015) Oral health literacy in Indonesian adolescent. Journal of international
dental and medical research, 8(3), 123-127.
Sabbahi, DA. (2013). Association between Oral Health Literacy and Patient-Centred and Clinical
Outcomes. (Doctoral dissertation) University of Toronto, Canada.
The National Strategy (2018-2037). Retrieved December 15, 2019 from http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF. (in thai)
Ueno, M., Takeuchi, S., Oshiro, A., & Kawaguchi, Y. (2013). Relationship between oral health
literacy and oral health behaviors and clinical status in Japanese adults. Journal of
Dental Sciences, 8, 170-176.
Ungsinun Intarakamhang. (2017). Health literacy : Measurement and development. (1st ed.). Bangkok: Sukhumvit printing. (in thai)
Waramet Sookpasanti & Manop Kanato. (2016). Tooth brushing after lunch at school in upper primary school children in Nong Bua Lam Phu Province. Community Health
Development Quarterly Khon Kaen University, 4(1), 113-126. (in thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-24