ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • Miss Hanifah Booraka -
  • พรรณี บัญชรหัถตกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน, ผู้ปกครอง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อน
วัยเรียนของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 225 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบป้อนเข้า

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.00 และปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองร้อยละ 56.90 (R²= .569 p < .000) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก การรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อนหรือชุมชน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับ -0.116, 0.151, 0.106,  0.184, 0.261, 0.278 ตามลำดับ

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเน้นการให้บริการเชิงรุก
มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานทางด้านทันตสาธารณสุขที่เหมาะสม มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากและการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก เพื่อลดการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก
โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เด็กไทยกับโรคฟันผุ ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคต. http://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/

ณัฐธิดา พันพะสุก, อัชชาวดี สักกุนัน, อรวรรณ นามมนตรี, และรัชนีกร สาวิสิทธิ์. (2561). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก 3-5 ปีในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 29(2), 13-26.

ที่ว่าการอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา. (2566). ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา. https://drive.google.com/file/d/1fXN8_RoUgxi1fqcA0Rqe4IvEkciCA-v5/view?usp=drive_link

ปาริฉัตร ถาวรวงษ์. (2021). พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 1(2), 69-82.

โรงพยาบาลกรงปินัง. (2565). ผลการตรวจฟันเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอกรงปินัง.

วิจิตรา รทะจักร, ลภัสรดา หนุ่มคำ และสุรางค์ รัตน์พ้องพาน. (2563). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี ของผู้ปกครอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1473-1489.

สมพร แก้วทอง, เปมิกา ฉิมคง, อมลวรรณ แก้วละมุล, ดุษฎี เจริญสุข, และวรรณวิมล เมฆวิมล

กิ่งแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 56-70.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. (2566). ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม.https://yla.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5&id=e9f3192f523c79cbbbcf7b405e879384

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2566). การพัฒนาเด็กปฐมวัย "ก้าวแรกแห่งชีวิตที่ดีเพื่อเด็กทุกคน". https://n9.cl/n7ibr

Best, J. W. (1977). Research in education. Prentice-Hall.

Bloom, B. S., et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. Mc Graw-Hill Book Company.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: an educational and ecological approach. McGraw-Hill.

Pander, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. Appleton and lange.

Stretcher, V.J., & Rosenstock, I. M. (1997). The Health Belief Model. San Francisco: Jossey-Bass.

Weiers, R. M. (2005). Introduction to Business Statistics. International StudentEdition. Pennsylvania, USA: Duxbury Press,Thomson - Brooks/cole.

World Health Organization. (2022). Global oral health status report. https://www.who.int/team/noncommunicable-diseases/global-status-report-on-oral-health-2022

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30