สิ่งคุกคามทางสุขภาพ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วีรพงศ์ มิตรสันเที๊ยะ -
  • ศิริวรรณ วัฒนภักดี
  • ภูหิรัณย์ ศุภพัฒนวรพงษ์

คำสำคัญ:

สิ่งคุกคามสุขภาพ, อาชีวนามัย, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสิ่งคุกคามสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเช็คลิสต์ (Checklist) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า สิ่งคุมคามสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งจำแนกออกเป็น 8 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบายความปลอดภัย ได้แก่ มีนโยบายความปลอดภัยไม่ครอบคลุม 2) ด้านกายภาพ ได้แก่ แสงสว่างไม่เพียงพอในงานสำนักงานและงานการเรียนการสอน 3) ด้านเคมี ได้แก่ มีการเก็บสารเคมีไม่ถูกต้องในงานห้องปฏิบัติการ 4) ด้านชีวภาพ ได้แก่ ขาดมาตรการป้องกันการเกิดโรคติดต่อโดยแมลง ชุดตอบโต้สารชีวภาพ หกรั่วไหลไม่ครบถ้วนในงานห้องปฏิบัติการ และงานบริการทางการแพทย์ 5) ด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบของพื้นที่ ได้แก่ มีสิ่งกีดขวางประตูทางเข้าออกในงานสำนักงาน งานการเรียนการสอน และงานซ่อมบำรุง 6) ด้านระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ได้แก่ ไม่มีไฟส่องแสงสว่างฉุกเฉิน และประตูทางออกฉุกเฉินมีสิ่งกีดขวาง ในงานสำนักงานและงานการเรียนการสอน 7) ด้านระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้แก่ มีการใช้ปลั๊กพ่วงต่อกันและอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในสภาพชำรุดในงานการเรียนการสอนและงานซ่อมบำรุง และ 8) ด้านระบบตอบโต้ฉุกเฉิน ได้แก่ ขาดการอบรมเกี่ยวกับการ          ปฐมพยาบาล ขาดการฝึกซ้อมดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติกระจายไม่ครอบคลุม

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยข้องสามารถนำไปประเมินความเสี่ยง และนำไปกำหนดนโยบายและมาตรฐานความปลอดภัย ตลอดจนพัฒนาสู่การเป็นสถานศึกษาปลอดภัย ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของนักศึกษาและบุคคลากรต่อไป

References

กนกพร เจริญสุข. (2562). การปรับปรุงกระบวนการทำงานและความปลอดภัยเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพด้วยหลักการ 3E และกิจกรรม 5ส. กรณีศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็น แอนด์ ดี การช่าง.ปทุมธานี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2543). ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566. จาก https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2021/07/law-fac-saft-17112543.pdf

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). คู่มือโครงการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. จาก https://osh.labour.go.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=351.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ณัชนันท์ ชีวานนท์. (2559). อุบัติเหตุในเด็ก: สถานการณ์ และแนวทางการป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 1-12.

ธนวัฒน์ หงษ์สา, และ ฌาน ปัทมะ พลยง. (2566). การประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษานำร่อง. ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7 วันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2566. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นุชนาฎ นิลออ, กิตติกร ขันแกล้ว และกมลวรรณ โชติพันธ์. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพด้านเทคนิคและความเข้มแสงของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ในห้องเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หลังการใช้งาน 3 ปี (รายงานการวิจัย). ตรัง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ประภัสสร จันดี. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัทมพร กิตติก้อง พรพรรณ สกุลคู กิตศราวุฒิ ขวัญชารี และกันณพงศ์ อัครไชยพงศ์. (2560). การศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างในห้องเรียน และลักษณะทางกายภาพของห้องที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียนกรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(3), 10-18.

วรวุฒิ คะมนตรี. (2560). ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) จากการคมนาคมบนท้องถนนที่มีต่อสุขภาพของเด็กนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. (2559). ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3), 351-358.

สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ระบบความปลอดภัยในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://www.sesasingthong.go.th/?p

โสฬสญา เงินเจริญ ธานินทร์ สุธีประเสริฐ อาภาพร กฤษณพันธุ์ และอิทธิพล ดวงจินดา. (2562). อุบัติการณ์การบาดเจ็บในโรงเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 โรงเรียนในเขตเทศบาล เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(2), s63-s71.

Guo, K., Qian, H., Zhao, D., Ye, J., Zhang, Y., Kan, H., … Zhao, Z. ( 2 0 2 0 ). “Indoor exposure levels of bacteria and fungi in residences, schools, and offices in China: A systematic review”. Indoor Air 30(6): 1147-1165.

Heinrich, HW. (1959). Industrial accident prevention: A scientific approach (4th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.

Kiziltunali, B. (2023). A literature review: The impact of light on students' learning performance. Humanising Language Teaching, 25(4).

Koç, S. & Çavas, B. (2022). The effects of laboratory safety professional development seminars implemented on science teachers: Laboratory safety knowledge levels. Science Education International, 33(4), 438-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21