การพยากรณ์จำนวนมารดาตายจากการคลอดบุตรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธิดีพร พันธุ์บ้านแหลม
  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 0000-0002-3547-667X
  • พิศมร กองสิน

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, มารดาตายจากการคลอดบุตร, ทฤษฎีระบบสีเทา

บทคัดย่อ

การตายของมารดาหลังคลอดเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของมารดา การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตลอดจนความพียงพอของสถานบริการด้านสุขภาพ ข้อมูลการตายของมารดาบ่งบอกถึงปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการคลอดและชี้ให้เห็นถึงสุขภาพโดยรวมของสตรีโดยตรงและสภาพเศรษฐกิจสังคมโดยอ้อม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์จำนวนมารดาตายจากการคลอดบุตรในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2567 โดยใช้ข้อมูลรายงานสถิติของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มรายงานมาตรฐาน สาเหตุการป่วย/ตาย รายงานการตายตาม 298 กลุ่มโรค (hospital base) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ถึง 2566 ระยะเวลา 10 ปี ประกอบด้วยกลุ่มโรค 242: ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ และการคลอด 243: การคลอดของครรภ์เดี่ยว และ 244: ภาวะแทรกซ้อนที่ส่วนใหญ่พบในระยะหลังคลอดและภาวะทางสูติกรรมอื่น โดยใช้วิธีตามทฤษฎีระบบสีเทา แบบจำลอง GM(1,1) และ แบบจำลอง GM(1,1) expanded with periodic correction model (EPC) ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลอง GM(1,1) EPC มีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (The Mean Absolute Percentage Error - MAPE) ต่ำสุดในทุกกลุ่มโรค ค่าพยากรณ์จำนวนมารดาตายปีงบประมาณ 2567 กลุ่มโรค 242: ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์ และการคลอด มีจำนวน 29 คน ลดลงจากปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 33.32 และ 243: การคลอดของครรภ์เดี่ยว มีจำนวน 27 คน ลดลงจากปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 23.86 ส่วน 244:ภาวะแทรกซ้อนที่ส่วนใหญ่พบในระยะหลังคลอด และภาวะทางสูติกรรมอื่น ๆ ที่มิได้ระบุรายละเอียด มีจำนวน 46 คน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 17.84

Author Biography

วัฒนา ชยธวัช, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

-

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). กลุ่มรายงานมาตรฐาน >> สาเหตุการป่วย/ตาย >> รายงานการตายตาม 298 กลุ่มโรค (hospital base). สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://hdcservice.moph .go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=b4e a22252bb533f3f9225dfcab83d 43a#

ยงเจือ เหล่าศิริถาวร. (ม.ป.ป.). การตายของมารดาในประเทศไทย. สถานการณ์สุขภาพในประเทศไทย ฉบับที่ 2 สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://www .hiso.or.th/hiso/picture/bro/PDF/lesson2.pdf

พงศ์ศุลี จีระวัฒนรักษ์. (2566). ชี้เป้าภาระโรค ลดความเสี่ยงการตายและภาระโรคของมารดา เวทีสัมมนาออนไลน์ “ชี้เป้าภาระโรค: ลดเสี่ยง เตรียมพร้อมเพื่อลูกรัก”. สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://www. thaihealth.or.th/ชี้เป้าภาระโรค-ลดความเส/

ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). แบบประเมินตนเอง เข้าข่ายการวิจัยในคนหรือไม่ (Eng, Thai). สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://sp.mahidol.ac.th/th/ethics-human/forms/ checklist/2022-Human%20Research%20Checklist-researcher.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). จำนวนการเกิด, สถิติจำนวนการเกิด ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง กันยายน 2566. สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ตัวชี้วัดเฝ้าระวัง สำนักส่งเสริมสุขภาพ 2566. สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2567. จาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/report-kpi-2566

Andrés D. (2023). Error metrics for time series forecasting. Retrieved 24 March 2024, from: https://mlpills.dev/time-series/error-metrics-for-time-series-forecasting/

Hyndman RJ., and Athanasopoulos G. (2021). Forecasting: principles and practice. (3rd edition). Melbourne: OTexts.

Lewis CD. (1982). Industrial and business forecasting methods: a practical guide to exponential smoothing and curve fitting. London: Butterworth.

Leung XY., Islam RM, Adhami M, Ilic D, McDonald L, Palawaththa S, et al. (2023). A systematic review of dengue outbreak prediction models: Current scenario and future directions. PLoS Negl Trop Dis., 17(2), e0010631.

Lin YH, Chiu CC, Lin YJ, and Lee PC. (2013). Rainfall prediction using innovative grey model with the dynamic index. Journal of Marine Science and Technology, 21(1), 63-75.

Liu S. (2021). Grey system theory and its application. 9th ed. Beijing: Science Press.

Liu S, and Lin Y. (2010). Grey systems theory and applications. Berlin, Heidelberg: Springer-Verlag.

Rajia S, Sabiruzzaman M, Islam MK, Hossain MG, and Lestrel PE. (2019). Trends and future of maternal and child health in Bangladesh. PLoS One, 14(3), e0211875. doi: 10.1371/journal.pone.0211875.

Tu CJ, Pan Q, Jiang CM, Tu YX, and Zhang SH. (2023). Trends and predictions in the physical shape of Chinese preschool children from 2000 to 2020. Frontiers in Public Health, 11,1148415. DOI 10.3389/fpubh.2023.1148415.

Wang Y, Shen Z, Jiang Y. (2019). Analyzing maternal mortality rate in rural China by Grey-Markov model. Medicine (Baltimore),98(6),e14384. doi: 10.1097/MD.0000000000014384

World Health Organization. (2023). Trends in maternal mortality 2000 to 2020: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and UNDESA/Population Division. Retrieved 24 March 24, from: https://data.unicef.org/resources/trends-in-maternal-mortality-2000-to-2020/

Zhang W., and Zhao Z. (2021). Analysis and Prediction of Maternal and Child Health Level in Urban and Rural Areas Based on GM(1,1) Model. Advances in Applied Mathematics, 10(7), 2511-2518.

Zhao D, Zhang H, Cao Q, Wang Z, He S, Zhou M. and Zhang R. (2022). The research of ARIMA, GM(1,1), and LSTM models for prediction of TB cases in China. PLoS One, 17(2), e0262734. doi: 10.1371/journal.pone.0262734.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31