ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากและปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ สอดสี -

คำสำคัญ:

Home visits, elderly, dental plaque

บทคัดย่อ

การบริการทันตกรรมไม่สามารถเข้าถึงในบางกลุ่มได้ เช่น ผู้สูงอายุ ดังนั้นการพัฒนาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการ โดยเฉพาะงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้สอดคล้องกับนโยบายหมอครอบครัว (Family care team) ที่เน้นการบริการในชุมชนเป็นหลัก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากและปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เข้าร่วมโปรแกรม 4 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพ ประเมินสุขภาพองค์รวม และสร้างทักษะการดูแลช่องปาก และกระตุ้นทักษะการดูแลช่องปาก 1-3 เก็บข้อมูลดูแลสุขภาพช่องปาก 2 ครั้ง ก่อน-หลังทดลอง และเก็บข้อมูลคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน 6 ครั้ง ก่อนทดลอง สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 5 สัปดาห์ที่ 7 และหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติ Paired T-test

พบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก (=2.31 SD=0.17) สูงกว่าก่อนทดลอง (=1.96 SD=0.19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (P-value < 0.001) และภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน (=52.53 SD=8.24) ต่ำกว่าก่อนทดลอง (=79.53 SD=6.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (P-value < 0.001) จึงเสนอว่าควรมีการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก. สืบค้นเมื่อ

มิถุนายน 2565. จาก http://hdcservice.moph.go.th/hdc.

ชาญชัย ลิ้มธงเจริญ. (2562). แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. ศรีนครินทร์เวชสาร,

(5), 496-502.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม:

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

สุภาพร มาลีวรรณ์, สมเสาวนุช จมูตรี และอภิญญา วงศ์พิริยโยธา. (2559). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน

ต่อความเชื่อต้านสุขภาพการปฏิบัติตัวและค่าความตันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน.

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(4), 63-72.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2557). ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย

โสภาพรรณ อินต๊ะเผือก และวรวรรณ์ ทิพย์วาศีรมย์. (2562). การเยี่ยมบ้าน: พยาบาลชุมชนไทยแลนด์ 4.0.

วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(4), 140-148.

ชยุตรา แปงสนิท. (2565). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง (ปริญญาโท), มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยพะเยา.

นฤมล จันทร์สุข ยุทธนา พินิจกิจ และชวนนท์ จันทร์สุข. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธาน, 27(1), 30-39.

วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง และทัศไนย วงค์ปินตา. (2564). ประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17(1), 64-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30