ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
Health status, Elderly caregivers, Quality of life, Elderly Caregivers Training Courseบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต และวิเคราะห์ภาวะสุขภาพที่เสี่ยงต่อปัญหาการเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมงจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรวจร่างกายเบื้องต้นและใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักเกินถึงอ้วนระดับที่ 2 รอบเอวเกินมาตรฐาน ความดันโลหิตค่อนข้างสูงและชีพจรปกติ (ร้อยละ 63.42, 65.85, 63.42, 73.17 ตามลำดับ) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75.61) ส่วนภาวะสุขภาพทางจิต พบว่า ไม่เป็นโรคซึมเศร้า (ร้อยละ 95.12) มีความเครียด (ร้อยละ 48.78) สำหรับการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคอ้วนลงพุง ส่วนภาวะสุขภาพทางจิต พบว่าอยู่ในระดับดี เครียดเล็กน้อย คุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมดี(ร้อยละ 56.09)
การวิเคราะห์ภาวะสุขภาพที่เสี่ยงต่อปัญหาการเจ็บป่วยและคุณภาพชีวิต พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายมีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง ไตวายเรื้อรัง ฯลฯ ส่วนภาวะสุขภาพทางจิตดี เครียดเล็กน้อย คุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมดี ส่งผลต่อการดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างเต็มศักยภาพ
ผลการศึกษา สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อส่งผลต่อการทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป
References
กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 จาก http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/Screening%20Version%20Final_291014.pdf.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 จาก https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 จาก https://dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แบบประเมินความเครียด (ST5). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 จาก https://dmh.go.th/test/
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กัลยกร ฉัตรแก้ว, สุปราณี แตงวงษ์ และกฤษนารี แย้มเพ็ง. (2559). ภาระในการดูแลกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(3), 352-365
ขวัญใจ ทองศรี. (2563) . คุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวพุทธจิตวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/254326
ชไมพร พิกุลน้อย. (2561). การเสริมแรงจูงใจให้แก่ caregiver ในการดูแล ผู้สูงอายุที่มีค่าการประเมิน ADL น้อยกว่า 12. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000112/News/npt/2563/33/4/shamaipon.pdf
ณปภา ประยูรวงษ์. (2565). สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงประเทศไทย. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/issue/view/17374
ประเวศ วะสี. (2547). ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.
เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกำธร. (2556). การนำทฤษฎีทางการพยาบาลต่าง ๆ มาใช้ในการดูแลสุขภาพ: ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม(Orem’s self- care Theory). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก: http://methawitpublichealth.blogspot.com
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพ:อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1676881770-1856_0.pdf
ศศิธร สุขจิตต์, จงรัก ดวงทอง, พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และวรวุฒิ ธุวะคำ (2561). ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/
สิรินาถ อินทร์แช่มชื่น, เกษร สำเภาทองและนนท์ธิยา หอมขำ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดปทุมธานี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 3(3), 75-92
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การคาดประมาณประชากรของ ประเทศไทยพ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). จำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ประจำปี 2564 ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. เอกสารอัดสำเนา
อุษณีย์ เพ็ชรอ่อน. (2563). แนวทางการปฏิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
European Commission. (2020). Eurostat: Quality of life. Retrieved July 23, 2022. From https://ec.europa.eu/eurostat/web/quality-of-life
Michelly Guedes de Oliveira Araújo et al. (2019). Caring for the carer: quality of life and burden of female caregivers. Retrieved July 23, 2022. From https://www.scielo.br/j/reben/a/v7KsZMSBxtYynm7LVTHrG7M/abstract/?lang=en
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby;
Pender J Nola, Carolyn L. , Parsons M and Parsons M. (2011). Health Promotion in Nursing Practice 6thed. New Jersey: Pearson Education Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม