การจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
คำสำคัญ:
Teaching, Activities Package, Humanized Care, Reflexive Thematic Analysisบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อพฤติกรรมการบริการและการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนและเรียนวิชาคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 40 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล สถิติวิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มสัมพันธ์กัน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการสะท้อนการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 18.93 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ด้านจิตบริการ (5.40±1.91) ด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ (4.45±2.81) และด้านการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง (2.75±1.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากการสนทนากลุ่มผู้เรียนสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน มีการสะท้อนคิดหลังกิจกรรมทุกครั้ง ผู้สอนที่ยิ้มแย้ม พูดจาสุภาพที่พูดคุยได้ มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติงาน มีความเห็นอกเห็นใจ สามารถไว้วางใจได้ มีความสังเกต เป็นผู้ฟังที่ดีอย่างลึกซึ้งโดยไม่ตัดสิน และสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่ผ่อนคลาย ข้อเสนอแนะของการวิจัยนี้แนะนำให้ผู้วิจัยอื่นสร้างและพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สอน มีการติดตามและประเมินผลจากผู้เรียนและผู้สอน
References
จรีรัตน์ อินทวัฒน์, ธนพล บรรดาศักดิ์ และ นฤมล จันทรเกษม. (2560). กระบวนทัศน์ในการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: บทเรียนจากค่ายศิลานธรรม. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 5(2), 376-387.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9(2), 1-11.
บุษกร โกมลภมร. (2557). นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองรูปแบบการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ และจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(3), 88-92.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25):103-118.)
พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และ วิทยา ทองดีพระพันธวัฒน์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562 (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่ม 136 (ตอนที่ 57 ก).
วรวิทย์ ชัยพรเจริญศรี, บุญสืบ โสโสม และกนกอร ชาวเวียง. (2560). การทบทวนความรู้งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาคุณลักษณะหัวใจความเป็นมนุษย์: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. พยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 146-159.
วราพร วันไชยธนวงค์, วราภรณ์ ยศทวี และจุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์. (2560). การพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของชีวิตสำหรับนักศึกษา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี อุตรดิตถ์, 9(2), 112-127.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2553). การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ในต้นแบบการสอนบูรณาการ ชุดวิชาการพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2561). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2560-2564. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, พิมพิมล วงศ์ไชยา, สิริสุดา เตชะวิเศษ และสมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2558). อัตลักษณ์บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 14-26.
อัญญา ปลดเปลื้อง, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, ชุติมา รักษ์บางแหลม และศรีเสาวลักษณ์ อุนพรมมี. (2561). ประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลแบบให้คุณค่าความเป็นมนุษย์. มหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 745-770.
Aloni, N. (2013). Empowering dialogues in humanistic education. Educational Philosophy and Theory. Institute of Education Sciences, 10(45), 1067-1081. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1111/j.1469-5812.2011.00789.x.
Bohm, D. (1996). On dialogue. London: Routledge Classics.
Braun V, & Clarke V. (2019). Reflecting on reflexive thematic analysis. Qualitative Research in Sport, Exercise and Health, 11(4), 589-597.
Kleiman, S. (2007). Revitalizing the humanistic imperative in nursing education. Nursing Education Perspective, 28(4), 209-213.
Motta Mda G. (2004). Humanized Care in the Teaching of Nursing. Revista Brasileira de Enfermagem, 57(6), 758-760.
Wynd, C. A., Schmidt, B., & Schaefer, M. A. (2003). Two Quantitative Approaches for Estimating. Western Journal of Nursing Research, 25(5), 508-518. Retrieved from http://wjn.sagepub.com/content/25/5/508.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม