ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์ที่รอรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง , ระดับความวิตกกังวล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ศึกษาระดับความวิตกกังวลการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี และเปรียบเทียบความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ฯจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ปัญหาค่าใช้จ่าย เคยได้รับการผ่าตัดอื่น ๆ (ไม่รวมผ่าตัดคลอด) มาก่อน ประสบการณ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และลักษณะแผลจากการผ่าตัดคลอด  กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ฯ จำนวน 112 คน คัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินความวิตกกังวล ที่มีค่าความเชื่อมั่น  0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann – Whitney U Test  และ Kruskal – Wallis Test พบว่า ความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูง (M  = 3.12)  เปรียบเทียบความวิตกกังวล จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ปัญหาค่าใช้จ่าย การเคยได้รับการผ่าตัดอื่น ๆ (ไม่รวมผ่าตัดคลอด) มาก่อนประสบการณ์ที่รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และลักษณะแผลจากการผ่าตัดคลอด พบว่า หญิงตั้งครรภ์ฯ ระหว่างกลุ่มมีปัญหาค่าใช่จ่ายและกลุ่มที่ไม่มีปัญหามีความวิตกกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับของความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ฯ รายด้านความวิตกกังวล ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับ ปานกลาง ยกเว้นในด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเพศสัมพันธ์ ภายหลังการผ่าตัด และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ซ้ำภายหลังการผ่าตัด ซึ่งมีความวิตกกังวล อยู่ในระดับ ต่ำ

References

กนิษฐา แก้วดู ,ฉวี เบาทรวง นันทพร แสนศิริพันธ์ (2562) ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และ

ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ;.

ขนิษฐา นาคะ . (2534)ความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด.วารสารพยาบาลสาร 2562;46 (2)

ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง และมยุรี ลี่ทองอิน. (2562) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก่อนได้รับ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2562.

ธวัลรัตน์ กิตติศักดิ์ชัย .นันทพร แสนศิริพันธ์ และกรรณิการ์ กันธะรักษา (2556)ความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วารสารพยาบาลสารปีที่ 40 ฉบับพิเศษ ธันวาคม พ.ศ. 2556 ;.

ปุณยนุต คนพูดเพราะ สมชาย เตียวกุล (2560) การเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องระหว่างการอภิบาลแบบบรรเทาใจกับการปรึกษาทางจิตวิทยา ในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2560; 4 (2)

ศูนย์อนามัย ที่ 5 ราชบุรี.(2563) แบบบันทึกสถิติหน่วยงานห้องผ่าตัดและวิสัญญี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย ที่ 5 ราชบุรี (พ.ศ. 2561 – 2563);.

สายทอง ชัยวงศ์ ,กล้าเผชิญ โชคบำรุง ,ศรินรัตน์ จันทพิมพ์.(2563) ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดช่องท้องและบทบาทของพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลแขวงบอริคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาววารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 : กรกฎาคม - กันยายน 2563 ; 2563.

สุภาพรรณ นิตยสุภาภรณ์ และคณะ.(2557) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดกับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2557; 25 (1) . 15.

จันทร์เพ็ญ การีเวท. ความรู้สึกก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยระบบอวัยวะสืบพันธุ์ละศัลยกรรม วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาพยาบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2514.

อมรรัตน์ มังษา และคณะ.(2554) ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ทางรังสีของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1): 55-63 ; 2554.17.

Lazarus, R.S., & Folkman, S. Stress, appraisaland coping. New York: Springer; 1984.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Hofberg, K., & Ward, M. R. (2003) Fear of pregnancy and childbirth. Postgraduate Medical Journal 2003; 79(935): 505-10.

Hung, C. H. (2001) The construct of postpartum stress: A concept analysis. Journal of Nursing 2001;48:69-76.

O’Brien, D. (1994)Post anesthesia care of the gastrointestinalabdominal and anorectal surgical patient. In C.B. Drain (Eds.), The Post anesthesiacare unit: A critical care approachto Post anesthesia nursing Philadelphia: W.B.Saunders 1994;(3):447-61.

Pillitteri, A. Maternal & Child health nursing.(5th ed.) (2010). Philadelphia: Lippincott;2010.

Spielberger, C. D. (1983) State-trait anxiety inventory a comprehensive bibliography. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Tara, D.C., Habi, D., Alona, H., Colleen, H. & Toni, M. (2009).Elective cesarean section: Why women choose it and what nurse need to know. Nursing for Women’s Health.2009;12(6):480-8.

Torrance C. Serginson E. 1997 Surgical nursing. 12th ed. London: Baillire Tindall;1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30