ผลสะท้อนของนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การสะท้อนการวิเคราะห์แก่นสาระ, ภูมิคุ้มกันทางใจ, นวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสะท้อนของนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 10 คน คือ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และนักสาธารณสุข จำนวนวิชาชีพละ 2 คน ทำงานในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย และอายุมากกว่า 30 ปี ที่เข้ารับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทางใจ และแนวทางในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของแบบสัมภาษณ์กับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.80 โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการสะท้อนการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้สะท้อนเกี่ยวกับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาว่า สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ดีขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้นในประเด็นอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ที่สอดคล้องกับเทคนิคการตระหนักรู้และมีสติมากขึ้นต่อการดำรงอยู่ และสามารถมองมุมใหม่กับเรื่องราวที่กระทบเข้ามาได้ ทำให้เบาใจ โล่งใจและจัดการสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเพื่อก้าวเดินต่อไปได้ และที่สำคัญได้เทคนิคทางความคิดที่ทำให้ตัวเองได้ทบทวน และวิเคราะห์ความคิดของตัวเองผ่านกระบวนการโต้แย้งทางความคิด ทำให้ปรับความคิดได้อย่างสมเหตุสมผล ดังนั้น นวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจนี้

References

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2560). คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 7(1), 1-15.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 13(25), 103-118.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพินทร์ ชูชม. (2556). การพัฒนาแบบวัดภูมิคุ้มกันตน. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 3(1), 8-19.

Albert-Lőrincz, E., Albert-Lorincz, M., Kaddar, A., Krizbai, T., & Lukacs-Marton, R. (2011). Relationship between the characteristics of the psychological immune system and the emotional tone of personality in adolescents. The New Educational Review, 23(1), 103-113. Retrieved from http://www.educationrev.us.edu.pl/e23/a7.pdf.

Braun V., & Clarke V. Reflecting on reflexive thematic analysis. (2019). Qualitative Research in Sport, Exercise and Health, 11(4), 589-97.

Dunlap, J. C., & Lowenthal, P. R. (2013). Learning, unlearning, and relearning: Using Web 2.0 technologies to support the development of lifelong learning skills. In IT policy and ethics: Concepts, methodologies, tools, and applications (pp. 170-193). IGI Global.

Goldenberg, H., & Goldenberg, I. (2013). Family Therapy: An overview. (8thed.). U.S.A.: Thomson Brooks&Cole.

Nesma. L.S. and Asmaa F.A. (2020). Rationing of Psychological Immunity Scale on a Sample of Visually Impaired Adolescents. International Journal for Innovation Education and Research, 8(3), 345-356. Retrieved from https://doi.org/10.31686/ijier.vol8.iss3.2236

Oláh, A., & Kapitány-Föveny, M. (2012). A pozitív pszichológia tíz éve (Ten years of positive psychology). Magyar Pszichológiai Szemle, 67(1), 19–45. doi: 10.1556/MPSzle.67.2012.1.3.

Usher R.A. (1996). Understanding Educational Research. In D. Scott & R. Usher (Eds.), London: Routledge.

Wikipedia contributors. (2023, December 17). VUCA. In Wikipedia, The Free Encyclopedia. Retrieved 08:08, December 30, 2023, from https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=VUCA&oldid=1190421294

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31