ผลของโปรแกรมสมาร์ทแพเร้นท์สต่อความรู้และทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ณปภา ประยูรวงษ์ -

คำสำคัญ:

การประเมินพัฒนาการ, พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการเกิดจากหลายปัจจัย การพัฒนาผู้ปกครองให้สามารถคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการให้กับบุตรตนเองได้ในเบื้องต้นจึงมีความสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสมาร์ทแพเร้นท์ (Smart Parents) ต่อความรู้และทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศึกษาในผู้ปกครองเด็กที่มีอายุในช่วง 1-3 ปี จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสมาร์ทแพเร้นท์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ครั้ง โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง เนื้อหาประกอบด้วย 1) ช่วงเวลาทองของหนู 2) เติบโตอย่างมั่นใจ สมองฉับไว ร่างกายแข็งแรง 3) สื่อใจถึงใจ เข้าใจภาษา และ 4) ฉลาด มั่นใจ ไหวพริบดี เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองด้วยการใช้คู่มือเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน Pair Sample t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากงานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะเกี่ยวกับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพและแก้ปัญหาเด็กที่มีพัฒนาการที่ไม่ปกติได้อย่างทันท่วงที

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

กิตติ กรรภิรมย์, พวงผกา มะเสนา. (2560). การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(4), 305-316.

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. (2558). พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตบริการสุขภาพที่ 4. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(2), 173-187.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

ประดับ ศรีหมื่นไวย, นฤมล เอื้อมณีกูล, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2560). ผลของโปรแกรมการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), 127-144.

ปิยะธิดา ขจรชัยกุล. (2561). การพัฒนาเด็กและครอบครัว. นครปฐม: เมตตาก็อปปี้ปริ้น.

มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินทรางกูล ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, พรรณนิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี และกรชนก หน้าขาว. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(1), 48-63.

รวี ศิริปริชยากร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดนครนายก ตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(1), 91-109.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สรุปผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมพัฒนาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลอง พระชนมายุรอบ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สมัย ศิริทองถาวร. (2555). ผลของการใช้คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปีสำหรับผู้ปกครองต่อพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ: สถาบันเด็กราชนครินทร์.

สิริพันธุ์ ปัญญายงค์ กุลชญา ลอยหา และสุภาพร ใจการุณ. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครอง ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 4(3), 70-84.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563 จาก https://spb.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824

องค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2561). คู่มือการฝึกอบรมครูและผู้ดูแลเด็กในการดำเนินการจัดโปรแกรมให้ความรู้การอบรมเลี้ยงดูเด็กแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และการจัดบริการให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2- 5 ปี. กรุงเทพฯ: วาย เค เอช แอนด์ เพรส.

Bandura A & McClelland DC. (1977). Social learning theory. Englewood cliffs: Prentice Hall.

Hosmer, D.W. & Lemeshow, S. (2000). Applied Logistic Regression. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons

Wagner, M., Spiker, D., Linn, M. (2002). The effectiveness of the Parents as Teachers program with low-income parents and children. TECSE, 22(2), 67-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31