สถานการณ์และการจัดบริการตามมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • Panatchaya Pradabsuk -

คำสำคัญ:

สถานการณ์, การจัดบริการ, มาตรฐาน, การแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินของจังหวัดสุพรรณบุรี วิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการที่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Descriptive Study) วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical System, ITEMS) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

 ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60 - 74 ปี  ร้อยละ 22.41 เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.21 อาศัยหรือพื้นที่เกิดเหตุฉุกเฉินในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ร้อยละ 42.74 แจ้งเหตุฉุกเฉินผ่าน 1669 เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.86 ชุดปฏิบัติการที่ออกปฏิบัติการฉุกเฉินระดับเบื้องต้น (FR) ร้อยละ 51.09 การประเมินระดับความรุนแรง ผู้ป่วยฉุกเฉินส่วนใหญ่ประเภทเร่งด่วน       (สีเหลือง) ร้อยละ 65.90 อาการนำสำคัญส่วนใหญ่ ประเภท Non - Trauma ร้อยละ 74.85                การปฏิบัติการฉุกเฉินส่วนใหญ่เริ่มปฏิบัติการฉุกเฉินภายในระยะเวลา 2 นาที ร้อยละ 90.75

 การประเมินระดับความรุนแรง ณ จุดเกิดเหตุ เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินประเภทเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 66.27 การช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่ได้ช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้อยละ 91.81 การประเมินระดับความรุนแรง ณ ห้องฉุกเฉินอยู่ในประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 58.91 รับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 52.51 การตอบสนองการปฏิบัติการฉุกเฉิน ภายใน 8 นาที ร้อยละ 58.96 ผลการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า “อาการทุเลา” ร้อยละ 41.76

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้รับบริการ คุณลักษณะการปฏิบัติการ และมาตรฐานการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินกับผลการรักษาในโรงพยาบาล โดยการวิเคราะห์ตารางไขว้ (Cross Tabulation Analysis) และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi- Square Test) พบว่า มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคเชิงพหุ (Multinomial Logistic Regression Analysis)  เพื่อทำนายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการที่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี ถ้าให้ตัวแปรอื่นคงที่จะพบว่า ปัจจัยด้านอายุ เพศ พื้นที่อาศัยหรือพื้นที่เกิดเหตุฉุกเฉินของผู้ป่วย ชุดปฏิบัติการ การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (Phone Triage) การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (Scene Triage) การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (ER Triage) การประเมินระบบทางเดินหายใจ การห้ามเลือด การให้สารน้ำ (IV Fluid) การประเมินระบบกระดูก การรับไว้รักษาที่โรงพยาบาล ระยะเวลาการเริ่มปฏิบัติการ (Start Time) และ ระยะเวลาตั้งแต่รับแจ้งเหตุจนไปถึงที่เกิดเหตุ (Response Time) มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนปัจจัยช่องทางการแจ้งเหตุ อาการนำสำคัญ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี

References

กัญญา วังศรี. (2556). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย โรงพยาบาลศรนครศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนสรณ์ ศรีใช้ประวัติ. (2565). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของจังหวัดนนทบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี.

พรทิพย์ วชิรดิลกและคณะ. (2557). ความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ.

พิเชษฐ์ หนองช้าง และคณะ. (2556). โครงการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือและดูแลรักษานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุทางถนน (โครงการย่อยที่ 4) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, วิทยา ชาติบัญชาชัย, และคณะ. (2552). การประเมินการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยเครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศรวณีย์ ทนุชิต และคณะ. (2562). สถานการณ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2557). สรุปภาพรวมการจัดทำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ เกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน บริษัท อัลทิเทม พริ้นติ้ง นนทบุรี.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 พ.ศ.2566 – 2570(แผนปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน). บริษัท อัลทิเทม พริ้นติ้ง นนทบุรี.

Byrne JP, Mann NC, Dai M, Mason SA, Karanicolas P, Rizoli S, et al. (2019). Association between emergency medical service response time and motor vehicle crash mortalityin the United States. JAMA Surgery ; 154: 286-93

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-14