สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย 8 ชนิดที่ติดเชื้อในกระแสเลือดและผลการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก

ผู้แต่ง

  • sunisa chaisaeng -

คำสำคัญ:

การดื้อยาต้านจุลชีพ, การติดเชื้อในกระแสเลือด, การดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน, การดื้อยาต้านจุลชีพกลุ่ม CRE, การดื้อยาต้านจุลชีพกลุ่ม MRSA

บทคัดย่อ

การดื้อยาต้านจุลชีพ ( Antimicrobial resistance: AMR ) ที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากหลากหลายสาเหตุ โดยส่งผลกระทบทั่วโลกในขณะนี้ : การศึกษาสถานการณ์ การดื้อยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการเฝ้าระวัง การบริหารจัดการ เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ให้ทันต่อสถานการณ์  โดยมีการศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือน มกราคม 2562-ธันวาคม 2564 ผลการศึกษา พบเชื้อแบคทีเรียทั้ง 8 ชนิดจำนวน 517 ราย พบเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 3 อันดับแรก Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Staphylococcus aureus ร้อยละ 35.08, 8.6, 4.47 ตามลำดับ เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน (MDR) พบ Escherichia coli มากที่สุดคือ ร้อยละ  77.61 ,พบ Klebsiella pneumoniae ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem (CRE) ร้อยละ 0.75 และพบการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพจากชุมชนมากกว่าการติดเชื้อจากโรงพยาบาล ร้อยละ 64.22, 7.93 ตามลำดับ อัตราการตายรวมของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่พบมากสุดคือ  Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 71.73 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาใช้ในการ กำหนดมาตรการ เฝ้าระวัง และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และลดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและควบคุมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้ รวมถึงใช้เป็นข้อมูลการวางแผนการรักษาและจำหน่ายผู้ป่วยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อภายในโรงพยาบาลได้

References

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต. (2565). SEPSIS โรคติดเชื้อในกระแสเลือด. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, www.fundrangsit.com/index.php/main/acc-det/304

จิราภรณ์ คุ้มศรี , และคณะ. (2563). ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและการดื้อยาต้านจุลชีพกลุ่ม ESKAPE Bacteria ในผู้ป่วยที่มีการติเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี 2017-2018 ด้วยโปรแกรม WHONET,วารสารกรมการแพทย์ ,45(4), 243-251.

ธีรพงษ์ มนต์มธุรพจน์. (2557). แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในชุมชนในภาวะที่เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยา กลุ่มควิโนโลน.ศรีนครินทร์เวชสาร ,29(5) , 476-482.

พัชรินทร์ ญาติรักษ์. (2559). สถานการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (Bacteriamia) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างปี พ.ศ.2556-2558 .วารสารวิชาการแพทย์เขต11 ,30(1) , 70-77.

พรพิมล เรียนถาวร. (2021). Pediatric Urinary Tract Infection: Drug-resistant Urinary Tract Infection

Ebook cupa ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, 85-94. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, https://ped.md.chula.ac.th/ebook-cupa2021

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2558). คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล.โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, https://www.hsri.or.th

สุกัญญา บัวชุม ,ไพโรจน์ โจวตระกูล ,สุชาดา วงพระจันทร์ . (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem : CRE ในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิจิตร .วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ,1(1) , 1-9.

สุพรรณี ยิ่งขจร , สตา สุทธิโชติ,นิธิกุล หงส์ทอง, ตั้ม บุญรอด,วิชชาดา สิมลา, ศิริรัตน์ ศรีรักษา.(2564). การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในโรงพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์เชิงอภิมาน .วารสารวิชาการสาธารณสุข ,30(5) , 916-924.

สุรชัย โชคครรชิตไชย . (2549) . ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.วารสารกรมการแพทย์ ,31(2), 129-140.

วิรัตน์ ทองรอด , (2565). Antimicrobial Resistance (AMR, การดื้อยาของเชื้อโรค) .สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, http://ccpe.phamacycouncil.org

อารยา ข้อค้า. (2020). ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. J med Health Sci Agust,27(2), 125-137.

NARST Nationnal. (2565). AntimicrobialResistantSurveillance Center,Thailand. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2565, www.narst.dmsc.moph.go.th/news001.html

NARST .(2560). แผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566, www.narst.dsmc.moph.go.th

PED id CHULA. .(2562). Drug-resistant Organisms in Pediatrics:Diagnosis and Treatment. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, www.https://ped.md.chula.ac.th

นิภาพรรณ มะลิซ้อน.(2559). แบคทีเรียดื้อยา:อดีตและปัจจุบัน.สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566,https://he01.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/article/download/139913/103777/

ภานุมาศ ภูมาศ,ดวงรัตน์ โพธะ.(2555).ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย:การศึกษาเบื้องต้น.วารสารวิจัยสาธารณสุข ,6(3), 352-359.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16