การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสำคัญ:
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การควบคุมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของชุมชนบ้านห้วยปางตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและประชาชนที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนห้วยปางมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ(ร้อยละ 55.5) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉพาะในช่วงงานเทศกาล(ร้อยละ 66.6)ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนบ้านห้วยปาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการผิดปกติต่อจิตใจ(ร้อยละ38.8) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีนอนหลับยาก (ร้อยละ 33.3) ปัจจัยแห่งความ สำเร็จในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนห้วยปางได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำและคณะทำงาน ปัจจัยด้านการควบคุมสถานที่จำหน่าย และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม โดยในชุมชนอื่นๆสามารถนำปัจจัยแห่งความ สำเร็จในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนห้วยปางไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้
References
ธัชนันท์ โกมลไพศาล. (2560). การประเมินต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์วิจัยปัญหาแอลกอฮอล์.
พัชราภรณ์ ตึกสูงเนิน (2562). ผลของโปรแกรมการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการดื่มในผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มแบบผิดปกติ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมาวิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสังคมไทย พ.ศ.2560
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกษตรถาวร.(2565). ผลศึกษาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของชุมขนบ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์.(2564). สถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดสุรินทร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561).ผลการสำรวจการดื่มสุราและสูบบุหรี่ พ.ศ.2561
อุเทน ปัญโญ. (2553). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาสถิติและการวิจัยทาง โภชนศาสตร์ศึกษา. สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Corey, S.M. (1949). Action Research, Fundamental Research and Educational Practices.
Theachers College Record, 50, 509-14.
Corey, S.M. (1953). Action Research and Improved School Practices. New York:
Columbia Leachers College
Kemmis, S. and McTaggart, R. (Eds) (1988), The Action Research Planner, 3rd ed., Deakin University Press,Geelong, Victoria.
Lewin, K. (1946). Action Research and Minority Problems. Journal of Social, 2, 34-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม