ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานและปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของพื้นที่อำเภอเมืองระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตามกรอบแนวคิดของงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จำนวน 18 ราย คัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปโดยเปรียบเทียบข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตามขั้นตอนและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองระยอง มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากร (คน เงิน ของ) ได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งมี นโยบายการบริหาร และมาตรการในการดำเนินงานที่รวดเร็วและชัดเจน โดยยึดการปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ของจังหวัดและเป็นไปตามคำสั่งจังหวัดระยอง ซึ่งปัจจัยของความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ การสั่งการในลักษณะ “One Commander” โดยในระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้สั่งการ ซึ่งจะทำให้ทุกหน่วยงานรวมทั้งภาคีเครือข่ายในอำเภอ ได้รับความชัดเจนในการปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการต่างๆ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือ สามารถดูแลประชาชนและจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร (คน เงิน ของ) และความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
References
กรมควบคุมโรค. (2563). มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2563. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/. 79
กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
กรมควบคุมโรค. (2565). มาตรการด้านการป้องกันสำหรับองค์กรและสถานประกอบการ. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/.
กรมควบคุมโรค. (2565). พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/001_1gcd.PDF
จักรกริช หมอประกอบ. (2547). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารในศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
จอน อึ๊งภากรณ์. (2564). ศบค.คืออะไร เปิดโครงสร้างและรายชื่อบุคคลเบื้องหลัง. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://www.ilaw.or.th/node/5908
ชนิญาดา. (2553). ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์ ทฤษฎีการจัดการ. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก http://file.siam2web.com/cmmba/peter_drucker1.pdf
ดำรง วัฒนา. (2545). ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC และหลักการจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จตามแนวคิดของ Henri Fayol. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-poccc-henri-fayol/
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). วิธีสร้าง brand experience ให้ประทับใจ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/branding/create-impressive-brand-experience/
ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ อ้างถึง David Bacarrini. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.knowledgertraining.com/index.php?tpid=0032
รัฐบาลไทย. (2563). ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.thaigov.go.th
วิชุดา จิวประพันธ์. (2553) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพนักงานศูนย์ปฏิบัติการเอกสารสัญญาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Vichuda_Chiwpraphan/fulltext.pdf
ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ. (2564). มาตรการ การควบคุมการระบาดของรัฐบาล. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=8&l=1
สุรศักดิ์ สุตธรรม. (2563). เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีอำนาจตามกฎหมายอย่างไร. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก https://www.kkpho.go.th/i2021/index.php/component/attachments/download/9113
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ: บริษัท วิทยพัฒน์ จํากัด.
Fayol, H. (1964). General and Industrial Management.London : Pitmand and Sons.
McClelland, D.C., (1985). Human motivation. Chicago: Scott, Foresman.
Williams, M. (2000). Is a company’s intellectual capital performance and intellectual capital disclosure practices related? Evidence from
publicly listed companies from the FTSE 100. Paper Presented at McMasters Intellectual Capital Conference. January 2001, Hamilton
Ontario.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม