การประเมินตนเองของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิต (GMP 420) ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • Natharin Dechasiripong -

คำสำคัญ:

วิธีการที่ดีในการผลิต, น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, สถานที่ผลิตน้ำบริโภค, การประเมินตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินมาตรฐานสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผู้รับผิดชอบในบทบาทของการเป็นผู้ประเมินเพื่อประเมินสถานประกอบการของตนเองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP 420) ในจังหวัดสุพรรณบุรีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบประเมินข้อกำหนดพื้นฐาน และข้อกำหนดเฉพาะ 1 ของ GMP 420 จากผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบ ของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จำนวนทั้งหมด 120 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t - test for Independent ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินโดยผู้ประกอบการพบว่าผ่านตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิต (GMP 420) คะแนนรวม 86.03 คะแนน 2. ผลการประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิต (GMP 420) คะแนนรวม 79.62 คะแนน 3. ผลเปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิต (GMP 420) (ข้อกำหนดพื้นฐาน) โดยผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ด้วยสถิติการทดสอบค่า t พบว่า คะแนนรวมเฉลี่ยของผลรวมการประเมินตามข้อกำหนดพื้นฐาน (ตส.2 (63)) โดยผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบ (ผปก.) และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 (พนง.) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ผลการเปรียบเทียบการประเมินฯ ที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบ (ผปก.) และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงควรมีโครงการหรือกิจกรรมในการศักยภาพของผู้ประกอบการ หรือผู้รับผิดชอบ ให้สามารถเป็นผู้ประเมินมาตรฐานสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่พบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564 ก). คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย (GMP 420). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564 ข). คู่มือสำหรับผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กิตติมา ไมตรีประดับศรี, นพวรรณ เทียงอวน, และธนิดา ไมตรีประดับศรี. (2552). คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในเขตภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียง ปี งบประมาณ พ.ศ.2548 –2550. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 34(1), 37-42.

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). ผลการดำเนินงานกลุ่มงานคุ้มครองกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). ผลการดำเนินงานกลุ่มงานคุ้มครองกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย และชิดชนก เรือนก้อน. (2559). คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในจังหวัดสระบุรีและแนวทางการปรับปรุง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(1), 139 -148.

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และเนตรนภา เจียรแม. (2555). สถานการณ์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม เครื่องดื่ม และภาชนะที่ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 87-96.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (2524). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 98 ตอนที่ 157, หน้า 52-56.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534). เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่2). (2534). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 108 ตอนที่ 61, หน้า 3041-3042.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่284) พ.ศ.2547. เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่5). (2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 9 ง, หน้า 1-2.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนที่พิเศษ 31 ง, หน้า 24-26.

ผณินทร งามศิริ. (2560). การประเมินตนเอง ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (จีเอ็มพี) ของผู้ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เมธาวี พลยิ่ง และวรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์. (2556). การสำรวจสถานที่น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18(6), 1049-1062.

ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2566).ข้อมูลสถานประกอบการและสถานบริการด้านสุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2565. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

สุภาพ วงศ์พัฒนวุฒิ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน GMP น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทกับคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ของสถานที่น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารอาหารและยา, 16(3), 48-56.

สุพัตรา คงจริง และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2555). การประเมินสถานที่ผลิน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยชุมชนในจังหวัดตรัง ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต และคุณภาพน้ำที่ผลิตได้. วารสารเภสัชกรรมไทย, 4(2), 64-84.

อุษณีย์ ทองใบ. (2552). เอกสารวิชาการเรื่องการประเมินคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในเขตตรวจราชการที่ 2 (จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรีลพบุรีและชัยนาท) ปี งบประมาณ2552. ในการประชุมวิชาการเรื่องคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-18