ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็อง
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่นและเพื่อศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็อง จำนวน 130 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อโรคโควิด-19 และการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 และความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ .68 ทัศนคติและการปฏิบัติตัวได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า
หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่นมีการปฎิบัติตัวใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และการเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ การมีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศ เป็นโรคประจำถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทัศนคติต่อโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ ในทางบวกกับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็องควรเร่งให้ความรู้เชิงรุกผ่านสื่อหลากหลายช่องทางเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนให้ลดจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 มีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง ตลอดจนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบของโรคโควิด-19
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. เข้าถึงจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์ผู้ป่วย COVID 19 ภายในประเทศรายสัปดาห์. เข้าถึงจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19. เข้าถึงจาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการ การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. เข้าถึงจาก https://www.pyomoph.go.th/backoffice/files/42090.pdf
กาญจนา ปัญญาธร. (2563) ชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 (2563)
ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยแยกกักตัว เขตสุขภาพที่ 12. (2565) เข้าถึงจาก https://home.songkhla.care/hospital/dischargelist
ณัฎฐวรรณ คําแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน, 33-47.
ดรัญชนก พันธ์สุมา และ พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร.ปีที่ 36 ฉบับที่ 5
บรรพต ปานเคลือบ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต.เข้าถึงจาก https://www.vachiraphuket.go.th/wp-content/uploads/2021/09/vachira-2021-09-02_10-19-20_074077.pdf
บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
ปฐมาภรณ์ อุดานนท์, พเยาวดี แอบไธสง, บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. (2566). การรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น ของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน, 127-138
ยุพเรศ พญาพรหม, หัสญา ตันติพงศ์, พรพรรณ มนสัจจกุล, ศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. (2565). การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชน ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่23 ฉบับที่44 มกราคม-มิถุนายน, 61-76
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 223 ง. (2565). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) เข้าถึงจากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/files/15720220926033413.PDF
รินรดา เดชสุวรรณาชัย. (2556). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กันยายน 2564 - กุมภาพันธ์ 2565
วรรณา ธนานุภาพไพศาล, รสสุคนธ์ พิไชยแพทย์. (2556). ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, 135-152
Wiersma, W. & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม