ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ์Vanpen Yindee -

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยแบบสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 4 จำนวนทั้งสิ้น 230 คน ด้วยแบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2565 แบบสอบถามแบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณด้วยนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย พบว่า อายุ รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย อาชีพ ประวัติการตรวจสุขภาพ ความรู้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข (R2=.949) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05) โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุด คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (b = .567) ซึ่งมีสมการพยากรณ์ คือ

Y พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง = 0.692 + 0.567(ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ) + 0.076(อายุ) + 0.016 (รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย) + 0.011(ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) + 0.011(ประวัติการตรวจสุขภาพ) + 0.009(อาชีพ)

References

แก้วตา สังขชาติ และวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย. (2562). ถอดบทเรียน DHS South การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง. สงขลา: มูลนิธิสุขภาพภาคใต้.

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน, กลุ่มวัยทำงาน. วันที่สืบค้น 20 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก

http://www.hed.go.th/uploads/file/Health%20Listeracy/studywork.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การสร้างเสริมและการประเมินด้านความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2561). ปัจจัยการสื่อสารและจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(4): 106-117.

เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวิตร คตโคตร. (2562). แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ. กองควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข: กองนวัตกรรมและวิจัย(กนว.).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง. วันที่สืบค้น 20 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก

https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/%20ncds/2/173/176-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84+NCDs.html

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เขตสุขภาพที่ 4. วันที่สืบค้น 22 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก

https://rh4.moph.go.th/upload/93194d52dc6ff61e1a522104f0dbb96d.pdf

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2557). การพัฒนาและใช้เครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยวัยผู้ใหญ่ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัย

Kean, L. G., Prividera, L. C., Boyce, A., & Curry, T. (2012). Media use, media literacy, and African American females’ food consumption patterns. Howard Journal of Communications, 23(3): 197-214.

Nielsen-Bohlman, L., Panzer A.M., and Kindig D.A. 2004. Health Literacy: A Prescription to End Confusion. Washington (DC): National Academies Press (US).

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12