ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาตนเองของบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • nanta nimanong -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการพัฒนาตนเอง, ความสุข, ความสัมพันธ์, การสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาตนเองของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 370 คน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีมีการพัฒนาตนเองอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก (M = 3.54, SD = .37) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ด้านเอกภาพของตนเอง (M = 3.70, SD = .51) ส่วนด้านทักษะพบว่ามีคะแนนต่ำสุด (M = 3.42, SD = .37)  2) บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีมีระดับความสุขภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก (M = 3.59, SD = .39) โดยมิติความสุขของบุคลากร พบว่า มิติที่มีคะแนนสูงสุด คือ มิติน้ำใจดี (M = 3.82, SD = .54)  และมิติที่มีคะแนนต่ำสุดคือ สุขภาพเงินดี (M = 3.24, SD = .76) 3) ปัจจัยความสุข มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาตนเองของบุคคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = .564) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีควรส่งเสริมให้บุคลากรลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ ส่งเสริมการออมของบุคลากร และจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะในการแสดงออกแก่บุคลากร

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1e_b429mvgtlW9P83iHb_dhOBwPiDRW-7/view

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.moph.go.th/document/gUO1ejGwWpvqhrh1hrvRt1eJ6NGQIiv6.pdf

กระทรวงสาธารณสุข.(2565). Happy MOPH กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแห่งความสุข. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Happy%20MOPH_0.pdf

กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์ และจันทร์ธรา สมตัว. (2556). การสำรวจสุขภาวะบุคลากร ศูนย์อนามัยที่ ปีงบประมาณ 2556. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://203.157.71.148/Information/center/research-56/Kornkeaw.pdf

กฤษณา บุญโยประการ (2560). ระดับความสุขและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน. ค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชินกร น้อยคำยาง และ ปภาดา น้อยคำยาง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ (เงินรายได้สำนักหอสมุดกลาง) : สำนักงานหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดวงพร หิรัญรัตน์. (2543). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวโรเจอร์สต่อความสุขของเด็กกำพร้า ในสถานสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจน์ เพชรบูรนิน. (2528). การพัฒนาตนเอง. อัดสำเนา.

พิสิทธิ์ สารวิจิตร. (2525). ยุทธศาสตร์การพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพจากระดับอนุบาลถึงปริญญาเอก . กรุงเทพ. ภาษีเจริญการพิมพ์

เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ :บริษัทเธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2560). ผลการวิเคราะห์แบบสำรวจ Happinometer 2560. อัดสำเนา.

วีรญา ศิริจรรยาพงษ์. (2556) ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.2013.30

เสาวลี แก้วช่วย. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาตนเองของนักกรีฑาทีมชาติไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางการกีฬาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

สุนันทา ถีรวงษ์. (2533). พัฒนาผู้จัดการ : พัฒนาตน แนะนำแนวทางเพื่อผู้จัดการ องค์การ และสถาบันการศึกษา กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2565. เข้าถึงได้จาก https://spo.moph.go.th/web/dplan/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสังคม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue

ศิริพร ครุฑกาศ และคณะ. (2561).ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก.วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี.

ละออ นาคกุล และคณะ. (2557). ความต้องการพัฒนาตนเองของของบุคลากรโรงพยาบาลรามาธิบดี.วารสารวิทยาลัยพยาบาล กรุงเทพ.

อุบล สาธิตกร. (2527). ผลการเข้ากลุ่มจัดสัมพันธ์คือความเจริญส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura. A. (1986). Social foundations of thought and action: A Social CognitiveTheory; New Jersey: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs.

Lyubomirsky,S.et.al. (2005).The benefits of frequent positive affect. Psychological Bulletin,

Yamane, Tora. (1973). Statistics:An introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper&row,1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09