การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • Kobkun Ampawa Yala provincial public health Office

คำสำคัญ:

รูปแบบทันตสุขภาพ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากกลุ่มวัยดังกล่าวเป็นกลุ่มวัยแรกเริ่ม และไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้การมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องจึงเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นพื้นฐานของการสร้างรูปแบบในการแก้ไขปัญหาที่มีความเฉพาะในแต่ละพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดยะลา และเสนอแนวทางรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ประชากรในการวิจัยได้แก่ เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซีเยาะ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน        87 คน โดยศึกษากับประชากรทุกคนด้วยรูปแบบการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และใช้แบบประเมินผลการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อดูระดับปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ของเด็ก และศึกษาข้อมูลการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย      ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t-test และการสังเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพที่มีประสิทธิผล โดยหลังจากได้รับรูปแบบใหม่ในการแก้ไข ปัญหาทันตสุขภาพ เด็กมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001)
  2. จากแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรูปแบบใหม่ และ การสัมภาษณ์ เชิงลึกพบว่า การจัดกิจกรรมในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการจัดอบรมผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นประเด็นสำคัญ

งานวิจัยมีข้อเสนอแนะให้นำรูปแบบแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากไปขยายผลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พบปัญหาทันตสุขภาพในลักษณะคล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป

References

กรมอนามัย. (2564). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ(4D)ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.กรุงเทพ:โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

กระทรวงสาธารณสุข.(2563).Health Data Center.วันที่สืบค้น 20 มกราคม 2564,เข้าถึงได้จาก

http://hdc.ntwo.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5&id=e9f3192f523c79cbbbcf7b405e879384

จันทนา อึ้งชูศักดิ์, & ปิยะดา ประเสริฐสม. (2549). โรคฟันผุในฟันน้ำนม. วิทยาสารทันตสุขภาพ, 11(1-2), 9-14.

ปณิธาน สนพะเนา, สันติสิทธิ์ เขียวเขิน, สุพัตรา วัฒนเสน. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล. 30(1): 103-119.

วันเพ็ญ สมหอม. (2559). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตภิบาล. 56:113-123

ศิริพรรณ เลขะวิพัฒน์. (2555). การพัฒนารูปแบบงานทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข.34:71-81.

สุณี วงศ์คงคาเทพ, บุปผา ไตรโรจน์,สาลิกา เมธนาวิน, อลิสา ศิริเวศสุนทร,สุภาวดี พรหมมา, ปิยะดา ประเสริฐสม,และคณะ. (2548) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผสมผสานเพื่อลดปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: ออนพริ้นช้อพ

สินศักดิ์ชน อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานการประชุมระดับ โลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถานบันพระบรม ราชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. (2563). แบบรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อให้ตอบสนอง service plan สาขาสุขภาพช่องปากเขตสุขภาพที่ 12 พ.ศ. 2561 ถึง 2563 จังหวัดยะลา.ยะลา:สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยะลา.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2554). คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง.กรุงเทพ:กรมอนามัย.

Acs, G., Lodelini, G., Kaminsky, S., & Cisneros, G. J. (1992). Effect of nursing on body weight in a pediatric population. Pediatr Dent, 14, 302-5

Davies, G.N. (1998). Early Childhood caries-a synopsis. Community Dent Oral Epidemiol, 26, 106-16.

Kemmis S. &McTaggart R. (1998). The Action Research Planner (3rd ed.). GeelongAustralia: DeakinUniversity Press

Naidu A, Macdonald ME, CarnevaleFA, Nottaway W, Thivierge C, VignolaS.(2014) Exploring oral health and hygiene practices in the Algonquin community Rapid Lake, Quebec. Rural Remote Health. [Online], [cite 30 April 2021]; Available from: https://doi.org/10.22605/RRH2975

Silness J, Loe H. (1964). Periodontal disease in pregnancy II. Correlation between oral hygiene and periodontal condition. Acta Odontologica Scandinavica, 22, 121-135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30