ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีอายุ 30-70 ปี ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • apinya Gordem -

คำสำคัญ:

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีอายุ 30-70 ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง  ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม เจตคติเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมตนเอง พฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเอง และการสนับสนุนจากสามีและญาติ ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง 0.711 - 0.834  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแคว์    และสรุปประเด็นสำคัญจากการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า

1) ความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 44.80 มีเจตคติที่ถูกต้องเรื่องโรคมะเร็งเต้านมอยู่ ในระดับต่ำ ร้อยละ 95.80  รองลงมาเป็นระดับดับปานกลาง ร้อยละ 3.00 และในระดับสูง ร้อยละ 1.30 มีคะแนน  M =14.08, S.D. = 2.46, Min =10, Max =27   

2) ด้านความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของครอบครัวและปัจจัยนำได้แก่ ด้านเจตคติ และความรู้ และปัจจัยเอื้อ ได้แก่ด้านประวัติการมีประจำเดือนและประวัติการเจ็บป่วยของญาติสายตรงด้วยโรคมะเร็งเต้านม และปัจจัยสริม ได้แก่  การสนับสนุนจากสามี และญาติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเด้านมด้วยตนเอง ของสตรีอายุ 30-70 ปี ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .01

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม จึงควรส่งเสริมความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มเจตคติที่ดี และส่งเสริมให้สามีและญาติได้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ กลุ่มสตรีเป้าหมาย มีการตรวจเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2547). แผนแม่บทการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม (พ.ศ.2547- 2549) กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี กรมการแพทย์. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง แห่งชาติ (พ.ศ. 2561 - 2565). กรุงเทพ :โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

จุฑารัตน์ สะธรรมกิจ,อุบล จันทร์เพชร และศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์. (2557). พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยอายุ 30-70 ปี ในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 5. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข:กรุงเทพฯ.

ฐาพัชร์ลดา เกียรติเลิศเดชา, อารยา เชียงของ, ปราลีณา ทองศรี และอนงค์นุช สารจันทร์. (2564). ความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก: กรณีศึกษาการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์,มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.

ดวงตะวัน พรมมาศ, สุพัตรา อัศวไมตรี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของหญิงอายุ 30 - 70 ปี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิพวรรณ สมควร, สินีนาฏ ชาวตระการ และ วรางคณา นาคเสน. (2565). ความรอบรู้้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(1), 45-56

บังอร สุภาเกตุ, จงมณี สุริยะ( 2555 ). การประเมินผลพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นวรัตน์ โกมลวิภาต, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ (2561). เปรียบเทียบ ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถ ตนเองของนักศึกษาหญิงระหว่างกลุ่มที่ตรวจและไม่ตรวจเต้านม ด้วยตนเอง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(4), 68-78

บุญฐิสา สาธร( 2565 ). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ของประชากรเพศหญิง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร .คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รังษีนพดล โถทอง, โสภิตตรา สมหารวงค์, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปรารถนา สถิตวิภาวี, วิศิษฏ์ ฉวีพจนกำจร .(2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัย ก่อนหมดประจำเดือน. วารสารโรคมะเร็ง, 39(1), 16-27. http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm

วรรณี ศักดิ์ศิริ. (2557). ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศูนย์ข้อมูลออนไลน์ Smartnews .(2563). 5 อันดับมะเร็งในคนไทย รู้ไว้ใกล้ตัวกว่าที่คิด. สืบค้นเมื่อ 1สิงหาคม 2565 .จาก http://www.ashthailand.or.th/smartnews/post/detail /558/news_all.php

สายสุทธี ร่มเย็น. (2558). การสำรวจพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยอายุ 30–70 ปี ในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 5(2), 65-77

สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, ปนัดดา ปริยทฤม, และกนกพร หมู่พยัคฆ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(3) ,42-51.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม. สำนักส่งเสริมสุขภาพ (2545). คู่มือบุคลากรสาธารณสุข โครงการตรวจเต้านมด้วยตนเองและดูแลสตรีไทยโรคมะเร็งเต้านม. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.

หทัยรัตน์ แสงจันทร์. (2550). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี ก้อนบริเวณเต้านมในระยะรอเข้ารับการผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ. สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26