การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • Kittiporn Nawsuwan -
  • อรอนงค์ วรรณสกล โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, การคัดกรอง, การสูญเสียการได้ยิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง พัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการตรวจคัดกรองการได้ยิน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดและพยาบาลวิชาชีพหอบริบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ คัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจงและศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบโดยยกร่างรูปแบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ ใช้ระเบียบวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดและพยาบาลวิชาชีพหอบริบาลทารกแรกเกิด จำนวน26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง แบบฟอร์มการคัดกรองความผิดปกติของการได้ยินในทารกแรกเกิดเฉพาะกิจ และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ร้อยละและสถิติ Wilcoxon sign ranks test ผลวิจัยพบว่า

  1. 1. ปัญหาการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ได้แก่ การรอคิวนาน เครื่องมือและบุคลากรที่ตรวจได้มีจำนวนน้อย ความต้องการพัฒนาบริการตรวจคัดกรองการได้ยิน คือ การเพิ่มจำนวนการนัด การเพิ่มบุคลากรในการตรวจคัดกรอง การปรับระบบไม่ให้รอคิวนาน การแจกเอกสารแผ่นพับ และการฝึกอบรมบุคลากร
  2. 2. รูปแบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วยด้านบุคลากร ด้านการคัดกรองทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง ด้านอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม และด้านการนัด
  3. 3. หลังใช้รูปแบบอัตราการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ มีแนวโน้มสูงขึ้นและพยาบาลวิชาชีพมีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

References

กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ (2550). หูพิการแต่กำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: กชกรการพิมพ์.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง. การประชุม

ของขวัญวันเด็ก 2564: ตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยิน

ขวัญชนก ยิ้มแต้ (2547) .การตรวจการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 241-248

คณะทำงานจัดทำแนวทางการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย. (2562). คำแนะนำการคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท จำกัด.

จารุพิมพ์ สูงสว่าง, กวีวรรณ ลิ้มประยูร, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, กลีบสไบ สรรพกิจ, และธราธิป โคละทัต.

(2551). กุมารเวชศาสตร์ทันยุค. กรุงเทพฯ: เฮาแคนดู จำกัด.

ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ (2541). ตำรา โสต ศอ นาสิก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: พีบี ฟอเรน บุคส์ เซ็นเตอร์

ชัยรัตน์ เสรีรัตน์, และวิภาดา เสรีรัตน์. (2562). การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงในหอผู้ป่วย

วิกฤต ทารกแรกเกิดโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. Srinagarind Medical Journal, 36(1)

เชิญขวัญ ฐิติรุ่งเรือง, ภาณินี จารุศรีพันธ์, และเสาวรส ภทรภักดิ์. (2561). การคัดกรองการสูญเสียการการได้ยินใน

เด็ก.Chala Med J, 62 (1), 53-65

ตฤษนันท์ แซ่แต้. (2559). การคัดกรองได้ได้ยินในทารกแรกเกิดที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ของโรงพยาบาลชุมพรเขตร

อุดมศักดิ์ วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(2), 31-36

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. (2563). สถิติทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. โปรแกรมสำเร็จรูป

ศิริวัฒน์ ธัญสิริพงศ์. (2560). การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหู ชั้นในของโรงพยาบาลระนอง วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31, 211-221

อัญชลี ชุ่มแจ่ม. (2552). การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลสมุทรสาคร.

วารสารแพทย์เขต 4-5, 28 (3), 253-260

Chunthawanich, S. (2010). Qualitative Research Methodology (17th ed). Bangkok: Chulalongkorn University

Jaynee AH, Lori AV, Marci ML. Early Detection and Diagnosis of Infant Hearing Impairment. In: Paul WF, Bruce HH, Valerie JL, John KN, Thomas KR, Regan JT, Marci ML, editors. Cummings otolaryngology - head & neck surgery. 6th ed. Philadelphia, PA:Elsevier; 2015:2970-9

Krippendorff, K. (2013). Content Analysis: An Introduction to Its Methodology. 3rd Edition. LA: SAGE Publication.

Yoshinaga-Itano C, Sedey AL, Coulter DK, Mehl AL. Language of early- and later-identified

children with hearing loss. Pediatrics 1998; 102:1161-71

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19