ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การสนับสนุนทางสังคม, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การมีส่วนร่วม, การดำเนินงานป้องกันและควบคุมบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร เก็บตัวอย่างด้วยแบบสอบถามที่ใช้วัดความรู้และความคิดเห็น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 280 คน โดยจากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถาม พบว่ามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ซึ่งได้ใช้สูตรของเครซี่และมอร์แกนในการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ไคสแควร์โดยอ่านค่าด้วยฟิชเชอร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิง ร้อยละ 79.64 อายุระหว่าง 21-75 ปี เฉลี่ย 50.15 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เป็นอาสาสมัครเฉลี่ย 10.58 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม
- กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ การดำเนินการ รับผลประโยชน์ และการประเมินผลในระดับมาก
- ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย ระยะเวลาในการเป็นอสม.(r=-0.051, p=0.012) ความรู้ ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค (r=0.133, p=0.026) การรับรู้มาตรการในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค (r=0.565, p<0.001) การสนับสนุนทางสังคมรายด้านและภาพรวม (r=0.757, p<0.001)
งานวิจัยมีข้อเสนอแนะให้บุคลากรสาธารณสุขส่งเสริมความรู้ในรูปแบบที่หลากหลายตลอดจนสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคดังกล่าวให้แก่อสม.อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วันที่สืบค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2563 , เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์ โควิด-19. วันที่สืบค้นข้อมูล 6 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย. วันที่สืบค้นข้อมูล 6 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th
กฤช ตะภา และประจักร บัวผัน. (2553). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต , สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุขบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/goabroad/th/knowledge/07may2020-1338
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พงษ์ระพี ดวงดี, มธุริน มาลีหวล, ปณิตา ครองยุทธ และถนอมศักดิ์ บุญสู่. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 1-12.
ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม และกฤษณ์ ขุนลึก. (2558). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, รัตนาภรณ์ อาษา และอภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่.วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช,36(1),86-97.
สุดใจ มอนไข่, อภิชาติ ใจอารีย์ และประสงค์ ตันพิชัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน,คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J.W. and Kahn. J.V.(1963).Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bacom.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Participation Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development, 8(3), 213-235.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม