ผลของการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเจริญเติบโต ต่อภาวะสูงดีสมส่วนของเด็กวัยเรียน จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ดร.เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง
  • รัฐพล เวทสรณสุธี
  • ฉวีวรรณ ดำคำทา

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเจริญเติบโต, ภาวะสูงดีสมส่วน, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเจริญเติบโตที่มีต่อภาวะสูงดีสมส่วนของเด็กวัยเรียน จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ที่มีภาวะสูงดีสมส่วนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ผอม หรือเตี้ย) จำนวน 120 คน และมารดาหรือผู้ปกครองเด็ก จำนวน 120 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการดำเนินงาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อน -หลังการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้คือ สถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และสถิติอนุมานได้แก่ Paired-sample T-test) และ McNemar’s Chi-square Test

          ผลการศึกษาพบว่า (1) ภายหลังการทดลองค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของเด็กวัยเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p-value<.001) (2) สัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่มีน้ำหนักน้อยจากเดิมก่อนการทดลองเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตามเกณฑ์ภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) สัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่เตี้ยจากเดิมก่อนการทดลองเปลี่ยนเป็นส่วนสูงตามเกณฑ์ภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ (4) สัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่ผอมจากเดิมก่อนการทดลองเปลี่ยนเป็นสมส่วนภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ การสนับสนุนให้มีการใช้โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเจริญเติบโตครอบคลุมกลุ่มอายุเด็กวัยเรียน (อายุ 6 – 14 ปี) และผลักดันให้ อปท.และ สปสช.สนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ รวมทั้งการสร้างความรู้และความตระหนักในการใช้โปรแกรมเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็กทั้งในกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู

คำสำคัญ: โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเจริญเติบโต, ภาวะสูงดีสมส่วน, เด็กวัยเรียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31