การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ในโรงพยาบาลจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ญานันท์ ใจอาจหาญ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, อาหารอินทรีย์, อาหารปลอดภัย, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

                    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน เพื่อศึกษาสถานการณ์อาหารอินทรีย์ และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ของโรงพยาบาล แบ่งการวิจัยเป็น  2 ระยะ ได้แก่ 1. ศึกษาสถานการณ์อาหารอินทรีย์ของโรงพยาบาล โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์สรุปผลนำไปสู่การสร้างเครื่องมือในระยะต่อไป และ 2. การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยนำรูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลจำนวน 8 แห่ง ผลการวิจัยมี 2 ประการ ดังนี้ 1. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ ประกอบด้วย 1.1 นโยบายของจังหวัดลพบุรี 1.2 การสนับสนุนทรัพยากร 1.3 ด้านสมรรถนะ 1.4 ปัจจัยเกื้อหนุนภายนอกจากเครือข่าย 1.5 การควบคุมกำกับ และ 1.6 ข้อจำกัดการดำเนินงาน และ 2. ผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาล มีกลยุทธ 4 กลยุทธ ได้แก่ 1.การบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ 2. ส่งเสริมผลผลิตที่มีคุณภาพ 3. เสริมสร้างระบบเฝ้าระวังที่มีคุณภาพ และ4. เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่าย พบว่า สามารถทำให้เกิดการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต มีการจัดหาวัตถุดิบอินทรีย์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการผลักดันด้านนโยบายสู่โรงพยาบาลทุกแห่ง ประกอบกับการสนับสนุนทรัพยากรร่วมกับสมรรถนะของโรงพยาบาล มีการปรับเปลี่ยนระบบวิธีการที่เอื้อต่อการพัฒนา นอกจากนี้ ยังพบข้อจำกัดของการบริหารจัดการ คือ 1. กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถผลิตวัตถุดิบอินทรีย์ให้เพียงพอต่อความต้องการ 2. ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากส่วนกลาง และ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถบูรณาการงานกันได้เท่าที่ควร

          ผลลัพธ์จากการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาหารอินทรีย์ของโรงพยาบาลจังหวัดลพบุรี ทำให้เกิดการพัฒนาอาหารอินทรีย์ในจังหวัดลพบุรี ก่อให้เกิดเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และอาหารที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

References

Denzin, N. K. (1982). The Research Act. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall. Fearne,

Andrew and David Hughes. (2008 ). Success Factors in the Fresh Produce Supply Chain :Insights From the UK Supply Chain Management : An International Journal. (4)3 :120-131.

Hamprecht,Jens and Denial Corsten. (2005). Controlling the Sustainability of food supply chains. Supply Chains Management : International Journal Vol 10 No1.

Jaesakol Sukol. (2548). Environmental Health situation in Thailand BE 2005 - 2007. Bangkok: War. Veterans organization printing house.

Nunthasuphawat Ramol. (2547) .The model of development health promotion in Health promotion hospital. A Dissertation Submitted in Partial Fullfillment of the Requirements for the Degree of Doctorial of Philosophy,University of Khonkhan.

Leon, G.M. Gorris. (2005). Food Safety Objective : An Integral Part of Food Chain Management. Food Control Published by Elsevier Ltd, 2005.

Lindgreen, Adam and Martin Hingley. (2003). The Impact of Food Safety and Animal Welfare Policies on Supply Chain Management . British Food Journal Vol.105 No.6 .

Lofland, John. (1971).Analyzing Social Setting. Belmont , California: Wadsworth.

Lopburi Provincial Health Office. (2562). The Summary report of operating results according to KPI in Ministry of Public Health.

Rammasuth Pantip. (2545). The Participation of Action research. Bangkok: P.A.Living. Magdalena, G.T., A. Vera and J.W. Murcia. (2000). Personnel Human Resource Management. 5th ed. Illinois : Homewood.

Malik, Rifhat E., Rose A. Cooper and Chris J. Griffith. (2004). Use of Audit Tools to Evaluate the Efficacy of Cleaning Systems in Hospitals the Association for Professionals in Infection Control and Epidemiology. New York : University of Wales Institute United Kingdom, 2004.

Manning, Land R.N.Baines S.A.Chadd. (2006). Quality Assurance Models in the Food Supply Chain. British Food Journal Vol.108 No.2.

Marvin, J.P., G.A. Kleter and L.J. Frewer. (2008). A Working Procedure for Identifying Emerging Food Safety Issues at an Early Stage : Implications for European and International Risk Management Practices,” Food Control. 20(4) : 345-356 ; April.

Murat, Bas, Azmi S. Ersun and Gokhan Kıvanc. (2006). The Ealuation of Food Hygiene Knowledge, Attitudes, and Practices of Food Handlers in Food Businesses in Turkey,” Food Control. 17(4) : 317-332 ; April.

Reglier-Poupeta H. and others. (2005). Evaluation of the Quality of Hospital Food from the Kitchen to the Patient.Journal of Hospital Infection. 59(2) : 131-137 ; February.

Wilson, Mervyn and Anna E. Murray. (1997). The Implementation of Hazard Analysis and Critical Control Points in Hospital Catering. Managing Service Quality Journal. 7(3) : 150-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21