การศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ : กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ประเชิญ โนรดี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ

คำสำคัญ:

ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ,บุคลากรสาธารณสุข,การรับรู้

บทคัดย่อ

                   การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินผลและผู้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยศึกษาในกลุ่มประชากร ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน  กลุ่มผู้บริหารผู้ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน  11  คน และ ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน  76  คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ เพื่อหาคำตอบให้กับคำถามตามกรอบแนวคิดในการศึกษา และวิเคราะห์เชิงปริมาณจากการตอบแบบสอบถาม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 16.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์

               ผลการศึกษา จากความคิดเห็นของ ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ ก.พ.ร. และกลยุทธ์ขององค์กร บุคลากรมีความเชื่อมั่นและยอมรับในผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการสำรวจความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.20 อายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 60.52 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.20 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 92.10 และมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 61.83  ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก (9.80) มีความเชื่อมั่นและยอมรับในระบบการประเมินผลในระดับมาก (3.98) มีการนำผลในการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรในระดับมาก (4.05) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในระบบ การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = .130)  ความรู้และความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = .120) ความรู้และความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการนำผลการประเมินการปฏิบัติงานไปใช้พัฒนาบุคลากรและองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = .120)   สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ ควรยึดถือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ ก.พ.ร. และกลยุทธ์ขององค์กรและควรมีวิธีสื่อสาร ขั้นตอน และการติดตามผล ตรวจสอบประสิทธิภาพในการประเมินต่อไป

References

ฉัตราภรณ์ พุ่มแสงทอง, “การศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาในกากับของรัฐ
กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,” (วิทยานิพนธ์, สาขาบริหารรัฐกิจ
คณะรัฐศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556), บทคัดย่อ,
ดวงพร คุณากรวงศ์, “ความคิดเห็นต่อการประเมินผลแบบตัวชี้วัด : กรณีศึกษากรมการปกครอง,” (ภาค
นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2553), บทคัดย่อ.(อ้างใน สลิลา มารยาท,การศึกษาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานหน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบ.หน้า 78)
นภดล ร่มโพธิ์ และ มนวิกา ผดุงสิทธิ์, เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร, โรเบิร์ต วูด และ
เวรีน่า มาร์แชล, การประเมินผลการปฏิบัติงาน : การดาเนินการ ปัญหาและประเด็นสำคัญ, (อ้างใน
สลิลา มารยาท,การศึกษาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา การ
ไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบ.หน้า 37-38)
ผุสดี รุมาคม. การประเมินการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2551
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. คู่มือประเมินผลงานสู่ความสาเร็จในการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา
อินเตอร์ พริ้นท์, 2553.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.),คู่มือประเมินผลการปฏิบัติราชการ :
แนวทางกำหนดตั้วชี้วัดและค่าเป้าหมาย,พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: , 2553
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.),คู่มือสมรรถนะหลัก : คำอธิบาย และ
ตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้,พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: , 2552
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ..),ถาม ตอบ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
พลเรือสามัญ ตามกฎ ก.พ..ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552,พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: , 2552
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.),คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ:
ภาพรวมระบบบริหารผลงานและระบบประเมินผล,พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: , 2553
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, คู่มือประเมินผลงานสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคน, กรุงเทพฯ:ศิริวัฒนาอินเตอร์
พริ้นท์,2553.
นภดล ร่มโพธิ์, และ มนวิกา ผดุงสิทธิ์. เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร. กรุงเทพฯ:
คณะบุคคลอิเมจิเนียริ่ง, 2552.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. การประเมินผลการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 13 [ฉบับปรับปรุง].
กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2551, 58-60.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์
“การประเมินผลการปฏิบัติงาน.” ห้องสมุดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน
2563, จาก http://library.dip.go.th/multim5/ebook/I.pdf.
“การรับรู้ (Perception).” Novabizz, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563, จาก
https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Perception.htm.

ฐานิตา แจ้งชัด. “หันมองการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา.” สืบค้นเมื่อวั นที่ 2 พฤศจิกายน 2563,
จาก http://hq.prd.go.th/personnel/ewt_dl_link.php?nid=555.
ผุสดี รุมาคม. “วิวัฒนาการของการประเมินผลการปฏิบัติงาน.สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2564,
จาก https://www.siamhrm.com/?name=chapter&file=read&max=338
ราเชนทร์ พันธุ์เวช, “น้าหนักของ KPI และ Competency ควรแบ่งสัดส่วนอย่างไร?,”narongwits.com,
สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563, https://narongwits.com/น้ำหนักของ-kpi-และ-
competency-ควรแบ่ง.
วชิระ ขินหนองจอก. “ทฤษฎีการรับรู้.” GotoKnow, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/282194.
สลิลา มารยาท.“การศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา การ
ไฟฟ้านครหลวงที่ทำการเขตวัดเลียบ” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
(บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน
2563, จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/0490/01
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) “ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน,” สืบค้น
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/pm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31