ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกรในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปนิตตา พัดนาค วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความชุกการบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกร, นักเรียนโรงเรียนกีฬา, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกร, อุปกรณ์ป้องกันในช่องปากและกระดูกขากรรไกร

บทคัดย่อ

การเล่นกีฬาที่มีการปะทะหรือกระทบกระแทก มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ทุกเวลา ทุกขณะที่มีการเล่นกีฬา โดยเฉพาะบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของฟันและกระดูกขากรรไกรในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

พบว่า ความชุกการบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกร โดยรวมร้อยละ 38.8 ส่วนที่พบการบาดเจ็บมากที่สุด คือ บริเวณฟันหน้าบน ร้อยละ 68.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (P-value = 0.032) ประเภทกีฬา (P-value = 0.046) ระยะเวลาในการฝึกซ้อมกีฬา (P-value = 0.015) การสวมอุปกรณ์ป้องกันในช่องปาก (P-value = 0.021) พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ย 15 ปี ตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ บริเวณฟันหน้าบน ลักษณะการบาดเจ็บที่พบมักเกิดแรงกระแทกทำให้เลือดออกบริเวณเหงือก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในช่องปากและศีรษะ เนื่องจากทำให้เล่นกีฬาไม่สะดวก และคิดว่ากีฬาที่เล่นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ อีกทั้งผู้ควบคุมไม่ได้บังคับทั้งขณะซ้อมและแข่งขัน ทำให้มีโอกาสได้รับบาดเจ็บบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกรเพิ่มขึ้น

References

กรรณิกา ชูเกียรติมั่น. นงวิภา พุฒิภาษ, ศมี เกศสุวรรณรักษ์, ศสิธร ทวีเดช และวัลลภา ยะประสิทธิ์. (2558). ทันตกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. จากเว็บไซต์ http://training.dms.moph.go.th

ขนิษฐา ห้องสวัสดิ์. สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา,มุขดา ศิริเทพทวี และนงวิภา พุฒิภาษ. (2552).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บของฟันและกระดูกขากรรไกรในนักกีฬา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563, จากเว็บไซต์ : https://neurosci.kku.ac.th

ขนิษฐา ห้องสวัสดิ์. สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, มุขดา ศิริเทพทวี,นงวิภา พุฒิภาษ. (2552).

Dental and jaw injuries and mouthguard wearing among Thai boxing athletes in Northeast Thailand. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563, จากเว็บไซต์ : http://neurosci.kku.ac.th

ขนิษฐา ห้องสวัสดิ์. สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา,มุขดา ศิริเทพทวี,นงวิภา พุฒิภาษ. (2552). Dental and Jaw Injuries among Thai Boxing Athletes in Northeast Thailand. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563, จากเว็บไซต์ : http://neurosci.kku.ac.th

จินตนา ทุมโฆษิต. (2547).การศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกในเด็กนักเรียนชายว.ทันตจุฬาฯ 2547;27:1-8.) สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563

เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์. (2559). ฟันยางสำหรับนักกีฬา. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จากเว็บไซต์ : https://hisopartyofficial.com

ไชยวัฒน์ ช่วยชูสกูล. (2560). ลักษณะของกระดูก. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_571_2/Traumatic_film

นิธิพัทธ์ วทัญญตา. (2552). Facial Fracture. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จากเว็บไซต์ : http://medinfo2.psu.ac.th/surgery

ศิริพร ทิมปาวัฒน์ , นพคุณ วงษ์สวรรค์ , สิทธิชัย วนจันทรรักษ์ และ ภาณุพงษ์ จิรเดโชชัย. (2552)

ฟันได้รับอุบัติเหตุ การตรวจวินิจฉัย และรักษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2563

อานันท์ จักรอิศราพงศ์. (2556). การตรวจฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ. เวชสารแพทย์ทหารบก,72(1),79.

สืบค้นเมื่อ 01 ธันวาคม 2563, จากเว็บไซต์ : https://he02.tcithaijo.org/rtamedj/article

Arass Jalal Noori , Wesal Ali Al-Obaidi. (2009). Traumatic dental injuries among

primary school children in Sulaimani city, Retrieved 23 January 2021.

from : Traumatic dental injuries among primary school children in Sulaimani city, Iraq - PubMed (nih.gov)

Chandan Agali R , Abhishek Mathur , Mary Suvarna , Swati Verma , and

Saraswati Ghosh. (2016). Insight to Epidemiology of Sports Related

Dental Injuries. Retrieved 03 December 2020,

from : http://www.ijohmr.com/ Epidemiology%20Sports%20Dental20Injuries.pdf

Dina Vidovic ,Danijel Bursać,Tomislav Skrinjaric , and Domagoj Glavina. (2015).

Prevalence and prevention of dental injuries in young taekwondo athletes in

Croatia. Retrieved 03 December. 2020, from : https://www.researchgate.net

Forsberg CM, Tedestam G. Etiology and predisposing factors related to Traumatic injuries

to permanent teeth. Swed Dent J. (1993). Traumatic dental injuries in twins: Is there a genetic risk for dental injuries. Retrieved 06 December. 2020,

from : https://onlinelibrary.wiley.com

Han-Kyul Park, Jin-Young Park, Na-Rae Choi, Uk-Kyu Kim, and Dae-Seok

Hwang. (2020). Sports-Related Oral and Maxillofacial Injuries: A 5-Year Retrospective Study, Pusan National University Dental Hospital. Retrieved 15 January 2021, from : https://www.sciencedirect.com

Juha Sane and Pekka Ylipaavalniemi. (1998). Dental trauma in contact team sports.

Retrieved 06 December 2020, from : https://onlinelibrary.wiley.com

Kazuhiko Yamamoto, Kazuhiro Murakami, TsutomuSugiura, Jun-ichilshida, Yuichirolmai,

MasakiFujimoto and TadaakiKirita. (2019). Maxillofacial fractures sustained during

baseball and softball. Retrieved 10 December 2020,

from : https://vdocuments.site/maxillofacial-fractures -baseball-and-softball.html

Michael Friedman. (2019). Types of Mouth Guards to Protect Your Teeth

(webmd.com), Retrieved 15 December 2020.

from : https://www.researchgate.net/Sports_Dentistry_and_Mouthguards

Muawia A. Qudeimat , Abdulaziz A. AlHasan , Mohammad A. AlHasan ,Khaled Al‐Khayat ,

Lars Andersson. (2019). Prevalence and severity of traumatic dental injuries among young amateur soccer players: A screening investigation, Retrieved 15 December 2020, from : https://onlinelibrary.wiley.com/journal/16009657

Robert Gassner , R Bösch, T Tuli and R Emshoff. (1999).

Prevalence of dental trauma in 6000 patients with facial injuries: implications for prevention, Retrieved 17 December 2020, from : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov

Stephen G. (2008). Medical Conditions Affecting Sports Participation.

Retrieved 24 December 2020, from : https://pediatrics.aappublications.org

U M Kujala , S Taimela, I Antti-Poika, S Orava, R Tuominen, and P Myllynen.(1995).

Acute injuries in soccer, ice hockey, volleyball, basketball, judo, and karate: analysis of national registry data | The BMJ, Retrieved 24 December 2020,

from : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-04