บทบาทของมอลโทรเดกซ์ตรินและสารช่วยตอกตรงในการพัฒนาตำรับยาเม็ดอมแก้ไอ ประสะมะแว้ง ซึ่งมีและไม่มีเกล็ดสะระแหน่ II: การเลือกตำรับที่เหมาะสมเมื่อแต่งรสต่างกัน 3 รส

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ เจตลีลา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กนกพร ระนาดแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อัจฉรา แก้วน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ศุภรัตน์ ดวนใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กัญจนภรณ์ ธงทอง คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ยาประสะมะแว้ง, ยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้ง, สารช่วยตอกตรง, เกณฑ์ยาเม็ดอมแก้ไอ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อคัดเลือกตำรับยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้งที่แต่งรสส้ม รสบ๊วย และ รสมินต์ที่คุณสมบัติทางกายภาพผ่านเกณฑ์ยาเม็ดอมแก้ไอคือความเบี่ยงเบนน้ำหนักจากค่าเฉลี่ย < 5.0 % สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนน้ำหนัก < 2.0 % ความแข็งยาเม็ด > 5.5 กก. ความกร่อนยาเม็ด < 1.0 % และเวลาละลายยาเม็ดในปาก > 30 นาที หลักสถิติที่นำมาทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยะสำคัญของค่าเฉลี่ยในคุณสมบัติยาเม็ดต่างตำรับคือการวิเคราะห์วาเรียนซ์ที่ p < 0.01 และวิธี Lease Significant Difference (LSD: 1.0 % allowance, α =0.01, 2 - tailed) เพื่อดูนัยะสำคัญในค่าเฉลี่ยของตำรับ ที่อยู่ติดกัน

          วิธีวิจัย: จากการวิจัย “บทบาทของมอลโทรเดกซ์ตริน (MDX) และสารช่วยตอกตรง (DCF) ในการพัฒนาตำรับยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้งซึ่งมีและไม่มีเกล็ดสะระแหน่ I: การเลือก DCF” DCF ที่ผ่านการคัดเลือกมี Avicel® PH - 102 และไดเบสิคแคลเซียมฟอสเฟตไดไฮเดรต (DCPD ) ที่ 120 และ 80 มก./เม็ด ยาเม็ดประสะมะแว้งถูกพัฒนาอีก 12 ตำรับ ที่ PVP K - 90, 3.5 % โดยใช้ DCF 120 มก./เม็ดยา เพื่อใช้ในตำรับ 13, 15, 17, 19, 21 และ 23 พร้อมกับ MDX 80 มก./เม็ดยา และ DCF 80 มก./เม็ดยา เพื่อใช้ในตำรับ 14, 16, 18, 20, 22 และ 24 พร้อมกับ MDX 120 มก./เม็ดยา ตามลำดับ  ตำรับแต่งรสส้ม คือตำรับ13 - 14 ใช้ Avicel® PH - 102 ตำรับ 15 - 16 ใช้ DCPD  ตำรับแต่งรสบ๊วยคือ ตำรับ17 – 18 ใช้ Avicel® PH - 102 ตำรับ 19 - 20 ที่ใช้ DCPD ตำรับแต่งรสมินต์คือตำรับ 21 - 22 ที่ใช้ Avicel® PH - 102 และตำรับ 23 - 24 ที่ใช้ DCPD ตามลำดับ

          ผลการทดลองและอภิปรายผล: พบว่าตำรับ 17 - 18 และ 21 - 22 ที่เลือกใช้ Avicel® PH - 102 ในการแต่งรสบ๊วยและตำรับรสมินต์ ดีกว่าตำรับ 19 - 20 และ 23 - 24 ที่ใช้ DCPD ตามลำดับ เพราะสามารถให้ยาเม็ดที่ผลิตได้ผ่านเกณฑ์ทุกข้อของยาเม็ดอมแก้ไอ และให้สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน ที่ต่ำกว่า 1.0 %

          สรุป: ตำรับที่แต่งรสส้มนั้นสามารถใช้ DCF ได้ทั้ง 2 ชนิดที่ปริมาณ 120 และ 80 มก./เม็ด เพื่อให้ยาเม็ดผ่านเกณฑ์ยาเม็ดอมแก้ไอ แต่ DCPD ไม่สามารถนำมาใช้พัฒนายาเม็ดประสะมะแว้งแต่งรสบ๊วยและรสมินต์ ที่เข้าเกณฑ์ทุกข้อของยาเม็ดอมแก้ไอ

References

กนกพร ระนาดแก้ว, สมบูรณ์ เจตลีลา, อัจฉรา แก้วน้อย, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, กัญจนภรณ์ ธงทอง. บทบาทของมอลโทรเดกซ์ตรินและสารช่วยตอกตรงในการพัฒนาตำรับยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้ง ซึ่งมีและไม่มีเกล็ดสะระแหน่ I: การเลือกสารช่วยตอกตรง วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2564; ปีที่ 9 ฉบับที่ 2: 17-34.

กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยศเส. 2528; หน้า 15, 68, 72, 79, 81.

สุดารัตน์ หอมหวน. (2010). เครื่องยาสมุนไพร. ในฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563. จาก: http://www.thaicrudedrug. com/main.php.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. (14 มีนาคม 2562). ยาประสะมะแว้ง ชนิดผง. บัญชียาจากสมุนไพรบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562; 42.

มาลี บรรจบ. กระบวนการผลิตยาเม็ดแก้ไอขับเสมหะสูตรพัฒนาจากยาประสะมะแว้ง. ไทยเภสัชสาร. 2535; 16(1): 89-100.

สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (8 มีนาคม 2560). โอวบ๊วย. ในบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนของสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุช: สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563. จาก: http://tcmdtammophgoth/index. php?option=com_content&view=article&id=10 &Itemid=143.

สมบูรณ์ เจตลีลา. (สิงหาคม 2556). ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 2: มาตรฐานทางกายภาพของยาเม็ดสมุนไพร. ในบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563. จาก: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge /article/154/.

Bardal SK, Waechte JE, Martin DS. Cough, cold, and allergy. Applied Pharmacology, St. Louis Mo.: Elsevier/Saunders. 2011; 127-34.

Bolton S. (2012). Statistics: Multiple comparison in ANOVA. In Troy DB. ed. Rhemington: The science and practice of pharmacy. 22nd ed. London: Pharmaceutical Press; 508-17.

Chaerunisaa AY, Sriwidodo S, Abdassah M. Microcrystalline cellulose as pharmaceutical excipient. In: Pharmaceutical Formulation Design: Recent Practices. Retrieved 3 July, 2020. From: https://www.intechopen.com/books/pharmaceutical-formulation-design-recent-practices/microcrystalline-cellulose-as-pharmaceutical-excipient.

Choursiya S, Andheriya D. Review on Lozenges. Journal of Drug Delivery & Therapeutics. 2018; 8(6-A), 124-8.

Freers SO. Maltrodextrin. In: Handbook of Pharmaceutical Excipients. Rowe RE, Tesky PJ, Oven SC eds., 6nd ed. Washington, DC: Pharmaceutical Press and American Pharmacists Association 2009; 418-20.

Hamid R, Forouzan G. Effect of Althaea officinalis on cough associated with ACE inhibitors. Pakistan Journal of Nutrition. 2007; 6 (3): 256–8.

Kini, R., Rathnanand, M., & Kamath, D. Investigating the suitability of isomalt and liquid glucose as sugar substitute in the formulation of salbutamol sulfate hard candy lozenges. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research. 2011; 3(4), 69-75.

Mandel ID. The functions of saliva. Journal of Dental Research. 1987; 66 (2 suppl): 623–7.

Renuka RT, Umashankar MS, Damodharan N. Recent update on oral films: A bench to market potential. International Journal of Applied Pharmaceutics 2018; 10: 28-33.

Sengupta S. Statistical evaluation of pharmacopoeia weight variation tests for tablets using a ratio statistics. Journal of the Royal Statistical Society. Series C (Applied Statistics). 1988; 37(3): 396-400.

The United States Pharmacopeia Convention. <1216> Tablet friability. The United States Pharmacopeia 40/The National Formulary 33. Rockville, MD: The United States Pharmacopeia Convention 2017; 1: 1749.

The United States Pharmacopeia Convention. <2040> Disintegration of dietary supplements. The United States Pharmacopeia 40/ The National Formulary 33. Rockville, MD: The United States Pharmacopeia Convention 2017; 1: 2270-72.

The United States Pharmacopeia Convention. <2091> Weight variation of dietary supplements. The United States Pharmacopeia 40/The National Formulary 33. Rockville, MD: The United States Pharmacopeia Convention 2017; 1: 2277-78.

Umashankar MS, Dinesh SR, Rini R, Lakshmi KS, Damodharan N. (2016). Chewable Lozenge Formulation. International Research of Pharmacy. 2016; 7(4). 9-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26