ประสิทธิผลชุดความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวทาง 3อ.2ส.สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนะ โพธิ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าไซ
  • ธานินทร์ สุธีประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ชุดความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, 3อ.2ส., อสม., แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

แอปพลิเคชันไลน์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีการส่งต่อที่รวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริการ สามารถส่งได้ทั้งภาพเสียง ข้อมูล สามารถนำมาใช้สื่อสารความรู้กับกลุ่ม อสม. โดยเฉพาะในชีวิตวิถีใหม่ งานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังฝึกอบรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิผลของชุดความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวทาง 3อ.2ส. ผ่านกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 103 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจาก 2 ตำบล ใช้การสุ่มอย่างง่ายในการเลือกตำบล กลุ่มทดลอง ได้แก่ อสม.ตำบลวัดดาว จำนวน 57 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ อสม.ตำบลไผ่กองดิน จำนวน 46 คน กลุ่มทดลองได้เรียนรู้ชุดความรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 21 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิง ร้อยละ 89.32 ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 45 ปี สถานภาพสมรส จบไม่เกินระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีลักษณะทางประชากร ภาวะสุขภาพและความเสี่ยงด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันมากนัก
  2. หลังจากการเรียนรู้ 3อ.2ส.ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ในโทรศัพท์มือถือ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเฉพาะด้านความรู้ที่เพิ่มขึ้น
  3. หลังการเรียนรู้3อ.2ส.ผ่านกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ในโทรศัพท์มือถือระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน
  4. กลุ่มทดลองประเมินชุดความรู้มีคุณภาพในระดับมาก และเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับ อสม.ในการเรียนรู้เรื่อง 3อ.2ส.ด้วยตนเอง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำชุดความรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปเผยแพร่ให้กับ อสม.หรือประชาชนที่สนใจเพื่อเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมตามแนวทาง 3อ.2ส.ให้แก่กลุ่มดังกล่าว

References

กาญจนา ศักดิ์ชลาธร. (2558). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญ [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564]. แหล่งข้อมูล http://hed.go.th/information/230
จุฑารัตน์ ประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นน์กับการรับรู้ตนเองและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นของผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขานิเทศศาสตร์). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉัตรชัย สมานมิตร, อุไรรัชต์ บุญแท้ และนงณภัทร รุ่งเนย. (2563). รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5,
39(3), 344-362.
นภาพร ลิ้มฮกไล้, โยทะกา ภคพงศ์ และปรีย์กมล รัชนกุล. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่
อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. พยาบาลสาร, 42(3), 106-118.
นิภานันท์ สุขสวัสดิ์. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎ์ธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาสาธารณสุขศาสตร์). สุราษฎ์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี
ภัทรานุช พิทักษา. (2555). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขา

สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล
รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส ของผู้สูงอายุ
จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(1), 2-12.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วรธนัท สบายใจ, กุลวรรณ โสรัจจ์ และจำลอง วงษ์ประเสริฐ. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการกลุ่มที่มีผลต่อพฤติกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 6-16.
สุภาวดี สุขมาก. (2559). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียงซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหา
บัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) สุราษฎ์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี
สุวิทย์ พรมเสน, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, วัชรินทร์ โกมลมาลัย และสุวรรณี เนตรศรีทอง. (2564). ประสิทธิผลของสื่ออิเล็กทรกนิกส์ช่วยสอนเรื่องการปฐมพยาบาลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในเขตเทศบาล
เมืองสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 50-58.
สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานสถานการณ์โรค NCD พ.ศ.2561 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี : สำนักพิมพ์อักษรและกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2561. สุพรรณบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า. (2564). ทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประจำปี 2564. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า.
อำนวย เนียมหมื่นไวย์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม
จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4(2), 78-92.
Best, W. (1977). Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.
Lally, P.; Van Jaarsveld, C. H.; Potts, H.W.W., & Wardle, J. (2010). “How are habits formed: Modeling habit formation in the real world” European Journal of Social Psychology, 40(6), 998-1009.
Maltz, M. (2016). 21-Day Habit Theory. Psycho cybernetics and self-fulfillment. Tarcher Perigee, Deluxe edition. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, NJ 07632.

Downloads